CMU Mail Manual

CMU Mail เป็นระบบไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ( E -Mail ) สามารถใช้งานได้ที่ http://mail.cmu.ac.th



Username : บุคลากรให้ใส่ชื่อ เช่น naranont.a , นักศึกษาให้ใส่รหัสนักศึกษา เช่น 54xxxxxxx
Password : เป็นรหัสผ่านที่ผู้ใช้งานตั้งขึ้นมาเองที่ http://account.cmu.ac.th

ผู้ใช้งานสามารถเลือกรูปแบบของการใช้งานระบบได้ 3 รูปแบบ คือ
1. Advanced (Ajax) : มีลักษณะการใช้งานแบบ Drag-Drop สามารถ ลาก-วาง จดหมายไปยังโฟลเดอร์ใดๆ ได้ โดยการใช้งานรูปแบบนี้เหมาะกับการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
2. Standard (HTML) : การใช้งานรูปแบบนี้เหมาะกับการใช้งานผ่านอินเตอร์เน็ตความเร็วปานกลาง
3. Mobile : สำหรับการใช้งานผ่านอุปกรณ์สื่อสาร เช่น มือถือ , PDA
หมายเหตุ : หากผู้ใช้งานเลือก Default จะเป็นการใช้งานรูปแบบ Advanced (Ajax)

การใช้งานอีเมล์เบื้องต้น ( Mail )

การอ่านอีเมล์

       คุณสามารถตรวจสอบอีเมล์ล์ที่สำคัญของคุณโดยการใช้งาน Auto Preview ซึ่งจะแสดงอีเมล์ล์ 2-3 บรรทัดแรกโดยไม่ต้องเข้าไปเปิดอ่านอีเมล์ล์โดย
การอ่านผ่านหน้าจอ Preview ซึ่งจะทำให้อ่านอีเมล์ล์ได้สะดวกขึ้น โดยการคลิ๊กที่ข้อความหน้าต่าง Preview ก็จะขึ้นมา

หมายเหตุ: ในการอ่านอีเมล์ล์นั้นเราสามารถอ่านได้อีกวิธีหนึ่ง คือการเปิดอีเมล์ล์ขึ้นมาอ่านโดยเปิดอีกหน้าต่างหนึ่งขึ้นมาเพื่อเนื้อหาข้อความนั้นจะแสดงได้อย่างเต็มหน้าอีเมล์ล์โดยการดับเบิลคลิ๊กที่อีเมล์ล์ฉบับนั้น

การเปิดไฟล์แนวเอกสาร

ในการเปิดอ่านอีเมล์ล์ไม่จำเป็นต้องมีเพียงแค่เนื้ออีเมล์ล์เท่านั้นแต่ในกรณีที่ผู้ส่งอีเมล์ล์ ได้แนบไฟล์เอกสารมาด้วยไม่ว่าจะเป็นไฟล์เอกสาร จำพวก Microsoft office, รูปภาพ, ไฟล์บีบอัด (zip,rar) หรืออื่นๆที่แนบมาพร้อมกับข้อความฉะนั้นจำเป็นต้องทราบวิธีการเปิดไฟล์จำพวกนี้หรือ Download ไฟล์

วิธีการ: การเปิดไฟล์แนบเอกสาร
1.อีเมล์ที่แนบไฟล์เอกสารมานั้นจะมีสัญลักษณ์ ที่หัวข้ออีเมล์
2.คลิ๊กที่ Download เพื่อ เปิดไฟล์แนบ หรือ เซฟลงเครื่อง
3. คลิ๊ก Open เพื่อเปิดไฟล์ หรือ คลิ๊ก Save เพื่อ เซฟลงเครื่อง หรือ คลิ๊ก Cancel เพื่อยกเลิก



การตอบกลับและส่งอีเมล์

ในการอ่านอีเมล์แต่ละครั้ง เรามีความจำเป็นที่จะตอบกลับอีเมล์ถึงผู้ส่ง อย่างเช่น เราได้รับอีเมล์แล้วหรือผู้ส่งให้เราตอบกลับไป โดยยังมี เนื้อหาอีเมล์ของผู้ส่งเดิมอยู่ ซึ่งจะต่างจาก การเขียนอีเมล์ใหม่โดยจะไม่มีเนื้อหาข้อความของผู้ส่งเดิมอยู่ด้วย

ในการตอบกลับอีเมล์ นั้นมีอยู่ 3 แบบคือ
- การตอบกลับอีเมล์ถึงผู้ที่ส่ง
- การตอบกลับอีเมล์ทุกคน
- การตอบกลับอีเมล์ แบบเพิ่มรายชื่อบุคคลที่จะส่ง

วิธีการตอบกลับอีเมลถึงผู้ที่ส่ง
การตอบกลับอีเมล ถึงผู้ที่ส่ง ที่ส่งหาเรา เราสามารถ เขียนข้อความลงในอีเมล และสามารถ แนบไฟล์เอกสารต่างๆลงไปได้อีกด้วย

1. โดยการ คลิ๊กเลือกอีเมล์ที่ต้องการส่ง แล้วเลือก Reply เพื่อตอบกลับไปยังผู้ส่ง


2. เมื่อทำการเขียนข้อความเรียบร้อยแล้ว คลิ๊กที่ Send เพื่อตอบกลับอีเมล ถ้าต้นฉบับมีไฟล์แนบมาด้วยเราสามารถเลือกที่จะส่งไฟล์เอกสารกลับไป โดยการเลือกเช็คถูกที่ไฟล์ที่แนบมา



วิธีการตอบกลับอีเมล์ทุกคน
การตอบกลับอีเมลล์ทุกๆคนที่ผู้ส่งส่งหาเราสามารถเขียนข้อความลงในอีเมลล์ และสามารถแนบไฟล์เอกสารต่างๆลงไปได้ ด้วยเนื้อหาข้อความของผู้ส่งยังอยู่ครบ หรือ เราจะต้องการลบข้อความของผู้ส่งทิ้งก็ได้

1. โดยการ คลิ๊กเลือกอีเมล์ที่ต้องการส่ง แล้วเลือก Reply to All เพื่อตอบกลับไปยังผู้ส่ง


2. เมื่อทำการเขียนข้อความเรียบร้อยแล้ว คลิ๊กที่ Send เพื่อตอบกลับอีเมล ถ้าต้นฉบับมีไฟล์แนบมาด้วยเราสามารถเลือกที่จะส่งไฟล์เอกสารกลับไป โดยการเลือกเช็คถูกที่ไฟล์ที่แนบมา


วิธีการการตอบกลับอีเมล์ แบบเพิ่มรายชื่อบุคคลที่จะส่ง
การตอบกลับอีเมล แบบเพิ่มรายชื่อบุคคลที่เราจะส่ง เราสามารถเขียนข้อความลงในอีเมล และสามารถแนบ ไฟล์เอกสารต่างๆลงไป

1. โดยการ คลิ๊กเลือกอีเมล์ที่ต้องการส่ง แล้วเลือก Reply เพื่อตอบกลับไปยังผู้ส่งและเพิ่มรายชื่อที่จะส่ง


2. ตรงช่อง To: หรือ Cc: ให้ใส่ชื่อเพิ่มเข้าไปโดยมีสัญลักษณ์ ; กั้นไว้ระหว่างชื่อผู้ที่จะส่ง แล้วกด Send

การสั่งพิมพ์อีเมล์

1. คลิ๊กเลือกอีเมลที่เราต้องการจะพิมพ์ จากนั้น คลิ๊กที่พิมพ์


2. จากนั้นทำการเลือก เครื่องพิมพ์ที่เราติดตั้งเอาไว้ แล้วกด Print

การลบอีเมล์

ในการอ่านอีเมลแต่ละฉบับนั้น ในเวลานานๆเมื่อมีอีเมล์มากขึ้น เราจึงจำเป็นที่จะต้องลบอีเมล์ทิ้งเพื่อรักษาเนื้อที่ของกล่องอีเมลของเรา เพื่อที่เราจะได้สามารถรับ อีเมลฉบับอื่นๆต่อไปได้

- ถ้าต้องการจะลบอีเมล ฉบับไหน ให้เรา คลิ๊กขวา ที่อีเมลฉบับนั้น แล้วเลื่อนลงไปที่ Delete ระบบจะทำการลบอีเมล

การสร้างอีเมล์

ในแต่ละครั้งที่ได้อ่านอีเมลจากคนอื่นๆส่งมาให้ แล้วเราได้ทำการตอบกลับ หรือ ส่งต่อ แต่ในกรณีที่เราจะทำการสร้างอีเมลใหม่ ให้เป็นอีเมลของเรา โดยเราไม่มีความจำเป็นที่จะ ตอบกลับอีเมล หรือ ส่งต่ออีเมล ซึ่งใน Zimbra Mail นี้ก็ทำได้ในการสร้างอีเมลใหม่นั้น เราต้องเขียนเนื้อความเอง แนบไฟล์ใหม่เองรวมทั้ง ส่งที่อยู่เมลของผู้รับ ใหม่ทั้งหมด

1. อยู่ในหมวด Mail แล้วคลิ๊กที่ New


2. แบบฟอร์มอีเมล์สำหรับอีเมล์ใหม่


3. จากนั้นเราทำการ ใส่ชื่อที่อยู่เมล์ของผู้รับ
4. ใส่ชื่อหัวข้ออีเมล ที่เราต้องการจะส่งว่าเขียนอีเมลเรื่องอะไร
5. เขียนข้อความในอีเมล
6. ถ้าเรามีความต้องการที่จะแนบไฟล์ก็สามารถทำได้ วิธีการจะอยู่ในห้อข้อ การเปิดและแนบไฟล์เอกสาร
7. เมื่อเราดำเนินการทุกอย่างเรียบร้อยแล้ว คลิ๊กที่ Send เพื่อส่งอีเมล

การทำแบบร่างอีเมล์

การทำแบบร่างอีเมลนั้นคือการ ร่างอีเมล แล้ว เก็บเอาไว้ เพื่อนำมาส่งอีเมล ในคราวหน้า มีความจำเป็นในกรณีที่เราต้องการส่งอีเมล ในรูปแบบนี้ บ่อยๆ หรือ หลายๆครั้ง เราสามารถนำเอา แบบร่างอีเมลที่เราได้ ร่างเอาไว้แล้ว นำมาส่ง ได้ในทันที

1.เมื่อเราเขียนอีเมล์ เรียบร้อยแล้วต้องการเก็บรูปแบบนี้ไว้เพื่อ ส่งใหม่ในคราวหน้า คลิ๊กเลือกที่ Save Draft แบบร่างอีเมล์จะถูกเก็บไว้ใน Drafts


2. เมื่อเราต้องการนำมาใช้งาน ให้คลิ๊กที่ Draft ที่ช่องซ้ายมือ แล้วเลือกแบบร่างอีเมล์ที่ต้องการใช้งาน


การสร้างกล่องแฟ้มข้อมูลใหม่

ในกรณีที่เราได้รับอีเมลเป็นเวลานานๆ แล้วอีเมลมีจำนวนมากๆ แล้วเราต้องการจะเก็บไว้ เราสามารถ สร้างกล่องแฟ้มข้อมูล ขึ้นมาเพื่อ เก็บอีเมลของเราให้เป็น หมวดหมู่

1. สร้างกล่องแฟ้มข้อมูลขึ้นมาก่อน โดยการ คลิ๊กที่รูปแฟ้ม


2. เมื่อเราเลือก สร้างกล่องแฟ้มข้อมูลแล้วหน้าต่างจะปรากฏขึ้น ให้เราตั้งชื่อ กล่องแฟ้มข้อมูล จากนั้นกด ตกลงเพื่อสร้างกล่องแฟ้มข้อมูล


3. จากนั้นจะได้ กล่องแฟ้มข้อมูล ที่เราสร้างไว้ ขั้นตอนต่อไปเราจะทำการ เก็บข้อความของเรา ให้เราทำการ คลิ๊กแล้วลาก ข้อความของเรา ที่เราต้องการจะนำไปเก็บไว้ใน กล่องแฟ้มข้อมูลนั้น


การใช้งานสมุดรายชื่อ

จะกล่าวถึงการเพิ่ม ลบ ย้าย และการจัดการเกี่ยวกับผู้ติดต่อ โดยแบ่งหัวข้อเป็น 2 หัวข้อหลัก คือ การสร้างที่อยู่ผู้ติดต่อ และสร้างกลุ่มที่อยู่ผู้ติดต่อ

ที่อยู่ติดต่อ

การใช้งานและการจัดการที่อยู่ผู้ติดต่อ คุณสามารถเก็บที่อยู่ผู้ติดต่อจำนวนมากในสมุดที่อยู่ผู้ติดต่อซึ่งจะทำให้คุณไม่ต้องพิมพ์รายชื่อเหล่านั้นเมื่อคุณต้องการส่งอีเมลล์

การเพิ่มผู้ติดต่อ

การเพิ่มผู้ติดต่อเป็นการเพิ่มรายชื่อ ที่อยู่ ผู้ติดต่อทีเราต้องการเก็บไว้ หรือนำมาจัดกลุ่มผู้ติดต่อได้ เพื่อสะดวกในการค้นหาชื่อ อีเมลล์ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ อื่นๆคุณสามารถกดได้ที่ปุ่ม โดยคุณสามารถเลือก “Contact”


การเพิ่มผู้ติดต่อ(Contact) หมายถึง การเพิ่มผู้ติดต่อเพื่อบันทึกเก็บไว้ เพื่อเราสามารถที่จะค้นหาได้อย่างสะดวกและสามารถจัดเก็บข้อมูลชื่อ เบอร์โทรศัพท์ อีเมลล์ ที่อยู่ ที่ทำงาน ที่บ้าน และอื่นๆ โดยมีรายการที่ต้องกรอก


File As: คลิ๊กเลือกรายการต่างๆ มีผลให้ที่หน้ามุมมองจะแสดงลำดับรายชื่อตามที่เราเลือกระบุไว้

การสร้างกลุ่มผุ้ติดต่อใหม่

การเพิ่มกลุ่มผู้ติดต่อใหม่ หมายถึงการที่เรามีผู้ติดต่อหลายคนที่เราได้ทำการบันทึกไว้ จนทำให้การค้นหาใช้เวลานานขึ้นและต้องการจัดกลุ่มของผู้ติดเป็นกลุ่มๆเช่น แบ่งกลุ่มฝ่ายขาย ฝ่ายบริการ ลูกค้าหรืออื่นๆตามต้องการ เพื่อสะดวกต่อการค้นหา เราก็จัดการโดยที่ จัดให้เป็นหมวดหมู่ เป็นกลุ่มไว้ เพื่อทำให้การค้นหาเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว และสามารถที่จะเพิ่ม หรือ ลบผู้ติดต่อ หรือย้าย ไปไว้กลุ่มอื่นได้


ชื่อกลุ่ม(Group Name) เป็นการตั้งชื่อกลุ่มตามคุณต้องการ
สมาชิกในกลุ่ม(Group Members) เลือกสมาชิกจากกรอบ “เพิ่มสมาชิกลงในกลุ่มนี้” ที่รายการด้านขวา เมื่อได้ชื่อตามต้องการแล้วให้ทำการคลิ๊ก หรือ ก็จะนำไปแสดงที่รายการสมาชิก แล้วก็กดปุ่ม

การลบชื่อออกจากกลุ่ม

การลบชื่อออกจากกลุ่ม หมายถึง ต้องการเอาชื่อของคนที่อยู่ในกลุ่มออก หรือต้องการย้ายไปกลุ่มอื่นๆจึงต้องทำการลบชื่อนี้ออกไปจากกลุ่ม เพื่อเป็นการจัดการเกี่ยวกับกลุ่มคนที่มีการย้าย หรือว่าต้องการเปลี่ยนแปลงกลุ่ม

1. ไปที่กลุ่มที่สร้างไว้แล้วและต้องการที่จะเอารายชื่อออก
2. เลือกรายชื่อที่ต้องการจะลบแล้วกดปุ่ม หรือ


3. แล้วคลิ๊กที่ปุ่ม เพื่อเป็นการยืนยันอีกครั้ง

การจัดการกำหนดการนัดหมายด้วยฟังก์ชันปฎิทิน

เราสามารถบันทึกย่อ นัดหมายการประชุม สร้างกำหนดนัดหมายการประชุม หรือนัดหมายต่างๆ ลงในปฎิทิน เราสามารถบันทึกระบุช่วงเวลาล่วงหน้าได้ไม่ว่าจะเป็น ชั่วโมง วัน สัปดาห์ เดือน หรือบันทึกประจำปีเช่น วันเกิดทุกปี เป็นต้นและสามารถส่งอีเมลล์นัดหมายที่เรากำหนดไว้ถึงผู้ใช้คนอื่นๆได้เมื่อถึงกำหนดการนัดหมายระบบจะแจ้งเตือนความทรงจำ

มุมมองปฏิทิน

การปรับเปลี่ยนมุมมองการแสดงผลของ ปฏิทินสามารถ คลิ๊กแต่ละฟังก์ชันให้แสดงผลในรูปแบบต่างๆกัน ได้ดังนี้

มุมมองแบบวัน


มุมมองแบบวันทำงาน


มุมมองแบบสัปดาห์


มุมมองแบบเดือน


มุมมองแบบรายการ


มุมมองแบบตารางเวลา


การเพิ่มตารางนัดหมาย

คุณสามารถสร้างปฎิทินชื่อต่างๆขึ้นมาได้จากปฎิทินเดิม เช่น สร้างปฎิทินชื่อตัวเอง บุคคล หรือว่าชื่อต่างๆได้ตามต้องการ โดยมีขั้นตอนดังนี้

ใส่รายละเอียดของการนัดหมาย อย่างเช่น Subject, สถานที่, เวลาเริ่ม เวลาเสร็จ, ผู้เข้าร่วมการประชุม, ไฟล์ที่ต้องการ Attached รายละเอียดของการนัดหมาย

การกำหนดรายละเอียดของการกำหนดการนัดหมาย
• Subject หัวเรื่อง ใส่ชื่อของหัวข้อกำหนดการนัดหมายที่สร้าง
• Location สถานที่ ใส่ชื่อสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับในกำหนดการนัดหมาย
• Show as สถานะ สถานะของกำหนดการนัดหมายว่าง ไม่แน่นอน ไม่ว่าง ส่วนบุคคล
• Time เวลา กำหนดเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดของกำหนดการนัดหมาย
• Repeat ทำซ้ำ กำหนดการทำซ้ำ ทุกวัน ทุกสัปดาห์ ทุกเดือน ทุกปี เลือกเอง
• Attendees ผู้ที่เกี่ยวข้อง ใส่ชื่อผู้ที่เกี่ยวข้องกับการกำหนดการนัดหมาย
• อื่นๆ ใส่รายละเอียดอื่ๆที่เกี่ยวข้องกับกำหนดการนัดหมาย

กำหนดการแจ้งเตือนแบบเลือกเอง



- ถ้าคลิ๊ก Check ที่ช่องหน้าคำว่า All day event ฟังก์ชันของกการเลือกเวลาจะหายไป สำหรับกำหนดการนัดหมายที่มี กำหนดการตลอดทั้งวัน โดยไม่ระบุว่าเป็นเวลาใดเวลาหนึ่ง

- นอกจากการเลือกรูปแบบการแจ้งเตือน ที่มีไว้แล้วเรายังสามารถเข้าไปปรับแต่งแบบเลือกเอง ในแต่ละรูปแบบ
1. ได้โดยการคลิ๊กเลือกตรงช่อง Repeat เป็น Custom



แบบเลือกเองแจ้งเตือนประจำวัน
Repeat
- Every day คือ การแจ้งทุกวันตั้งแต่วันจันทร์ – อาทิตย์
- Every weekday คือ การแจ้งเตือนตั้งแต่วันจันทร์ – ศุกร์ ยกเว้นวันเสาร์และวันอาทิตย์
- Every  days คือ การแจ้งเตือนทุกๆ จำนวนวันที่กำหนด
End
- No end date คือ การแจ้งเตือนไปเรื่อยๆ ตามการกำหนดค่าการแจ้งเตือนที่ตั้งไว้โดยไม่มีวันสิ้นสุด
- End after  occurrence คือ การกำหนดการแจ้งเตือนว่าให้แจ้งเป็นเวลากี่วัน
- End by  คือการกำหนดวันที่จะแจ้งเตือนว่าให้สิ้นสุดที่วันที่เท่าไหร่


แบบเลือกเองแจ้งเตือนประจำสัปดาห์
Repeat
- Every  คือ การแจ้งเตือนทุกๆวันดังกล่าวที่กำหนด
- Every  weeks on คือ การแจ้งเตือนตามจำนวนสัปดาห์ที่กำหนด และ สามารถเลือกวันในการแจ้งเตือนได้
End
- No end date คือ การแจ้งเตือนไปเรื่อยๆ ตามการกำหนดค่าการแจ้งเตือนที่ตั้งไว้ โดยไม่มีวันสิ้นสุด
- End after  occurene คือ การกำหนดการแจ้งเตือนว่าให้แจ้งเป็นเวลากี่วัน
- End by  คือ การกำหนดวันที่จะแจ้งเตือนว่าให้สิ้นสุดที่วันที่เท่าไหร่


แบบเลือกเองแจ้งเตือนประจำเดือน
Repeat
- Day  of every  month คือ การแจ้งเตือนในวันที่ที่กำหนดของทุกจำนวนเดือนที่กำหนด
- The   of every  month คือ การแจ้งเตือนตามวันและลำดับของวันของทุกจำนวนเดือนที่กำหนด
End
- No end date คือ การแจ้งเตือนไปเรื่อยๆ ตามการกำหนดค่าการแจ้งเตือนที่ตั้งไว้ โดยไม่มีวันสิ้นสุด
- End after  occurrence คือ การกำหนดการแจ้งเตือนว่าให้แจ้งเป็นเวลากี่วัน
- End by  คือ การกำหนดวันที่จะแจ้งเตือนว่าให้สิ้นสุดที่วันที่เท่าไหร่


แบบเลือกเองแจ้งเตือนประจำปี
Repeat
- Every year on   คือ การแจ้งเตือนทุกปีในเดือนและวันที่กำหนด
- The   of every  คือ การแจ้งเตือนตามวัน และลำดับของวันของทุกเดือนที่กำหนด
End
- No end date คือ การแจ้งเตือนไปเรื่อยๆ ตามการกำหนดค่าการแจ้งเตือนที่ตั้งไว้ โดยไม่มีวันสิ้นสุด
- End after  occurrence คือ การกำหนดการแจ้งเตือนว่าให้แจ้งเป็นเวลากี่วัน
- End by  คือ การกำหนดวันที่จะแจ้งเตือนว่าให้สิ้นสุดที่วันที่เท่าไหร่

-การดำเนินการในการสร้างกำหนดการนัดหมาย
การดำเนินการนากรสร้างกำหนดการนัดหมายของ ปฏิทินสามารถ มีฟังก์ชันการทำงานต่างๆ ดังนี้

- Save คือ การบันทึกการเปลี่ยนแปลง การสร้างกำหนด
- Cancel คือ ยกเลิกกรเปลี่ยนแปลงการสร้างกำหนดการนัดหมาย
- Print คือ การปริ้นรายละเอียดของปฏิทินออกมา
- Add Attachment คือ การแนบไฟล์ในกำหนดการนัดหมาย สูงสุด 3 ไฟล์


- Spell Check คือ การตรวจสอบการสะกดคำ รายละเอียดกำหนดการนัดหมาย

*ตรวจสอบการสะกดคำได้เฉพาะภาษาอังกฤษ

- Format คือ รูปแบบของการเขียนรายละเอียดกำหนดการนัดหมายสามารถเลือกเป็นรูปแบบ Plain Text หรือ HTML

Plain Text


HTML

ตารางกิจกรรม

แสดงกราฟสถานะของกิจกรรม โดยจะระบุสถานะแต่ละประเภทตามสีของคีย์ สัญลักษณ์ที่กำหนด โดยในกราฟจะมีเส้นสีเขียวจะบอกเวลาเริ่มต้น และเส้นสีน้ำตาลบอกเวลาสิ้นสุด

การค้นหา

การค้นหารายชื่อผู้เกี่ยวข้อง
เป็นการค้นหาเพื่อเพิ่มรายชื่อผู้เกี่ยวข้อง ที่ต้องการลงในกำหนดการนัดหมายที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งสามารถทำได้โดยการ

- พิมพ์รายชื่อลงไปในช่อง และสามารถเลือกแหล่งข้อมูลได้ว่าจะทำการค้นหาจากแหล่งใด
- จากนั้นทำการค้นหาโดยการกดที่ปุ่ม “Search” ถ้ามีรายชื่อของผู้ที่ต้องการค้นหาอยู่ในระบบ ก็จะถูกนำมาแสดงในช่องด้านล่าง ซึ่งเราสามารถเพิ่มรายชื่อที่ต้องการลงใน กำหนดการของเราได้
- โดยการเลือกที่รายชื่อที่ต้องการแล้วกดปุ่ม “Add”


ค้นหาสถานที่ที่เกี่ยวข้อง
เป็นการค้นหาเพื่อเพิ่มสถานที่ที่เกี่ยวข้อง ที่ต้องการลงในกำหนดการนัดหมายที่จะสร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งหลักของการค้นหาจะคล้ายๆกับ “ตารางกิจกรรม” แต่จะมีรายละเอียดในการค้นหาเพิ่มขึ้น โดยจะมี ชื่อ ,จำนวนคน ,โน๊ต , ที่ตั้ง , อาคาร, และชั้น

ถ้าคลิ๊ก Check ที่ช่อง Allow multiple locations จะแสดงช่องสำหรับให้เพิ่มสถานที่ได้มากกว่าสถานที่เดียว

เมนูลัด

เราสามารถใช้เมนูลัดในการสร้างกำหนดการนัดหมาย และเปลี่ยนมุมมองของปฎิทิน ได้โดยการคลิ๊กขวา ซึ่งจะมีเมนูลัดออกมา



เราสามารถสร้าง กำหนดการนัดหมายได้เหมือนกับการสร้างด้วยวิธีปกติ แต่การใช้เมนูลัดจะทำให้เราสร้างได้สะดวกรวดเร็วขึ้น และจากเมนูลัดนี้เราสามารถกลับไปหน้าจอการสร้างกำหนดการนัดหมายแบบปกติ โดยกดที่ปุ่ม More Details

การใช้ตารางนัดหมายร่วมกัน

เราสามารถใช้ตารางนัดหมายร่วมกัน เพื่อกำหนดเป็นปฎิทินที่ใช้ร่วมกัน เพื่อให้ผู้ใช้ที่เราให้สิทธิดูตารางการนัดหมาย หรือตารางนัดหมายการกำหนดการต่างๆของเราได้
โดยการคลิ๊กขวาที่ชื่อตารางนัดหมายที่สร้างไว้ด้านซ้ายมือแล้ว เลือก Share Calendar เมื่อเข้าไปจะพบกล่องคุณสมบัติการใช้งานร่วมกัน



Share with การเลือกใช้งานร่วมกับ
- Intermal users or groups ผู้ใช้ภายในระบบ หรือ กลุ่มผู้ใช้
- External guests (view only) ผู้ใช้งานจากภายนอก ดูได้อย่างเดียว
- Public ( view only , no password required ) เข้าดูผ่านทางเว็บไซต์ โดยไม่ต้องกรอกรหัสผ่าน
Email ทำการใส่อีเมลล์ของ User ที่ต้องการ Share
Role การให้สิทธิ์สำหรับผู้ใช้งานที่เราให้ใช้ปฏิทินร่วมกัน
- None ไม่มีสิทธิ์ใดๆ
- Viewer เป็นผู้ชม สามารถดูได้เพียงอย่างเดียว
- Manager เป็นผู้จัดการ สามารถ ดู แก้ไข เพิ่ม ย้าย ยอมรับ ปฏิเสธ
Allow user(s) to see my private appointments อนุญาติให้สามารถดูตารางนัดหมายส่วนตัวได้
Message รูปแบบการส่งอีเมล์ไปยังคนจะใช้ปฏิทินร่วมกัน

- Do not send mail about this share ไม่ส่งจดหมายไปยังผู้ที่เราจะใช้ปฏิทินร่วมกัน
- Send standard message ส่งจดหมายตามปกติ
- Add note to standard message เพิ่มบันทึกข้อความตามปกติ
- Compose email in new window เขียนอีเมล์ในหน้าต่างใหม่
URL เปิดผ่านทางเว็บได้โดยตรง
- ICS ดาวน์โหลดไฟล์นามสกุล .ics และนำไปเปิดในโปรแรม Outlook
- View เข้าไปดูปฏิทินผ่านทางเว็บได้โดยตรง
เมื่อทำการตั้งค่าต่างๆเรียบร้อยแล้ว จะมีอีเมล์ส่งไปยังผู้ใช้งานที่เราต้องการใช้ปฏิทินร่วมกัน


จะมีอีเมลล์ส่งไปยังผู้ที่เราต้องการ Share เพื่อให้ทางผู้ที่เราต้องการให้ Share Accept หรือไม่


เมื่อผู้ใช้งานที่เราต้องการใช้ปฏิทินร่วมกันยอมรับ Accept จะมีเมล์ส่งกลับมาให้เรา


เมื่อทำการ Accept แล้วจะขึ้น Block เพื่อให้ใส่รายละเอียด อย่างเช่น ให้ตั้งค่าเป็นสีอะไร หรือว่าให้มีการส่งอีเมล์ตอบรับหรือไม่ หากว่าต้องการให้มีอีเมล์ตอบกลับไปยังผู้ที่ Request มานั้นก็สามารถเลือกตามรายการได้


เมื่อทำการ Accept ทางผู้ที่ต้องการให้ Share Calendar จะมีชื่อของผู้ที่ต้องการ Share เพิ่มเติมมาดังรูป

Tasks เป็นตารางการนัดหมาย Task คือส่วนหน้าที่เสริมของโปรแกรมในการเก็บรายการ การทำงานของผู้ใช้ซึ่งสนับสนุนการทำรายการทั้งแบบส่วนตัวและแบบเปิดเผย และ Task นั้นยังสามารถทำงานเข้ากับโปรแกรมปฏิทิน และยังสามารถใช้ผู้ใช้สมบัติร่วมกันเช่นการจัดกลุ่ม การจัดเรียงความสำคัญ การค้นหา การพิมพ์ และการนำข้อมูลเข้าและออกจากโปรแกรม เพื่อนำข้อมูลไปใช้ทำอย่างอื่นได้

การปรับรูปแบบมุมมอง

การปรับเปลี่ยนมุมมองการแสดงผลของ Tasks สามารถ คลิ๊กแต่ละฟังก์ชันให้แสดงผลในรูปแบบต่างๆกัน ได้ดังนี้

 
มุมมองแบบ ยังไม่ได้เริ่ม

มุมมองแบบ งานเสร็จแล้ว


มุมมองแบบในกระบวนการทำงาน


มุมมองรอคนอื่น

 

มุมมองรอการตัดบัญชี


มุมมองแบบรวม


สัญลักษณ์ของความสำคัญของงานมีอยู่2 ลำดับ

  1.    คือลำดับความสำคัญของงาน ลำดับสูงสุด
  2. คือสำดับความสำคัญของงาน ลำดับต่ำสุด


การเพิ่มTask

การเพิ่มTask
คุณสามารถสร้าง Task  โดยการกดปุ่ม New แล้วเลือกเมนู Task


ใส่รายระเอียด Subject ,Location,Prioity,Start Date,Due Date,Progress

การกำหนดรายละเอียดของTask
• Subject หัวเรื่อง ใส่ชื่อของหัวข้อกำหนดการนัดหมายที่สร้าง
• Location สถานที่ ใส่ชื่อสถานที่ที่เกี่ยวข้องกับในกำหนดการนัดหมาย
• Prioity ลำดับความสำคัญของงาน
• Progress ความคืบหน้าของเป้าหมาย
• Start Date วันเริ่มงาน
• Due Date วันครบกำหนด

การAdd attachment
1 กด Add attachment
2 กด เลือกไฟล์
3 ทำการเลือกไฟล์ที่ต้องการแนบ


หากต้องการลบไฟล์ให้กดที่ Remove

การตรวจสอบไวยากรณ์
กด Spell Check เพื่อทำการตวรจสอบไวยากรณ์  

เมนูPrint
ถ้าหากต้องการทำการPrintให้กดปุ่มPrint

 

เมนูFormatสามารถทำการเลือกได้2 แบบ คือ
1.แบบHTML จะสามารถปรับแต่งตัวหนังสือได้


2. แบบ Plain Text เป็นการเขียนรูปแบบปกติ

เมื่อทำเสร้จแล้วให้กดปุ่ม Save  เพื่อทำการบันทึกTask

การย้ายTask หรือเพิ่มTag

Move Selected item(s) เป็นย้าย task ไปยัง Task กลุ่มใหม่
ถ้าหากต้องการย้ายTask หรือเพิ่มTag ใหม่ ให้ทำการคลิกขวา ที่Task แล้วเลือก Move

ถ้าหากต้องการสร้างFloder Task ให้คลิก รูป   


ทำการตั้งชื่อแล้วทำการเลือกสี แล้วกดปุ่ม OK
1.

2.

 

เมื่อทำการสร้างเสร็จแล้วจะปรากฏFolder test1ในTask
3.

การสร้างTagใหม่

กด New Tag


ทำการพิมพ์ชื่อ Tag แล้วเลือกสีของTag ตามความต้องการ

เมื่อทำการสร้างTag เสร็จแล้วtag จะปรากฎอยู่ทางด้านซ้ายมือ

วิธีการติดป้ายTag

หลังจากที่ทำการสร้างTagเสร็จแล้ว จะทำการติดป้ายTag กับ Task ที่เราต้องการ

 

วิธีการติดTag ทำได้โดยทำการคลิกTask แล้วเลือก เมนู Tag Selected item(s) เลือก Tag ที่เราต้องการติด


ญลักษณ์Tagปรากฏอยู่หน้าTask

การลบTask

ทำได้โดยการคลิกTask แล้วเลือกเมนู Delete

 

การแก้ไขTask

ทำได้โดยการคลิกที่Tag ที่เราต้องการลบ แล้วเลือกเมนูEdit เพื่อทำการแก้ไข


1. แก้ไข Subject
2.แก้ไขLocation
3.แก้ไขProiorty
4.แก้ไขTask List
5.แก้ไขProgress

เมื่อกำการแก้ไขเสร็จเรียบร้อย ให้ทำการคลิกปุ่มบันทึก


Briefcase ทำหน้าที่สำหรับ Backupข้อมูล และเป็นการ Upload File ไว้ภายในในเว็บ

วิธีการสร้างFolders สำหรับ Briefcase

ทำการคลิก new แล้ว เลือกเมนู Briefcase

หรือทำการคลิกที่รูป

เมื่อทำการเลือกจะมีหน้าต่างขึ้นมาให้เราใส่ชื่อ Folder เลือกสี หากทำการกำหนดเสร็จแล้ว ให้คลิกปุ่ม OK

Folder Briefcase ที่เราสร้างขึ้นจะปรากฏอยู่ทางด้านซ้ายมือ


วิธีการ Upload File

วิธีการ Upload New File to Briefcase สามารถทำได้ โดยการคลิกที่รูปหรือรูปใดรูปหนึ่ง

เมื่อทำการคลิกจะมีหน้าต่างให้เรา คลิกเลือกไฟล์ แล้วทำการหาไฟล์ ที่เราต้องการ Upload

เมื่อทำเสร็จ จะปรากฏไฟล์ที่เราUpload ข้อมูล

หากต้องการทำการดู File หรือรูปภาพ ต้องทำการ Authentication (การ Login เข้ารหัส) ก่อนถึงจะสามารถเปิดFile ต่างๆได้

วิธีการปรับมุมมองรูปแบบ

หากต้องการปรับมุมมองในการดู ในคลิก เมนู View

มุมมองสำหรับในการดู Briefcase มีอยู่ 3 แบบด้วยกัน

1. Explorer View


2. Detail View


3. Column Browser View


วิธีการลบ File

ทำการคลิกขวาของFile ที่เราต้องการทำการลบ แล้วเลือก Delete


วิธีการย้าย

วิธีการ ย้ายFile ไปอีก Folder หนึ่ง ทำการโดยคลิกขวา File ที่ต้องการที่จะย้าย แล้วเลือก Move


เมื่อคลิกMove เสร็จ จะปรากฏหน้าต่าง Choose Folder ขึ้นมาให้เราเลือกFolder ที่ต้องการจะย้าย แล้วคลิกปุ่ม OK


File ดังกล่าวจะ ย้ายมายังFolder ที่เราทำการเลือก


วิธีการการติด Tag

สำหรับการติดTag ทำได้โดยคลิกขวา File แล้วเลือก เมนู Tag File เลือกTagที่ต้องการให้ติด


เมื่อติดTagเสร็จ จะมีเครื่องหมาย Tag ติดอยู่ ตรงท้ายชื่อของFile


วิธีการสร้างเอกสาร

สามารถ ทำการสร้าง File เอกสารได้ 3 ประเภท
1. New Document
1.1 พิมพ์หัวข้อ
1.2พิมพ์เนื้อหา
1.3 ทำการบันทึกข้อมูล


เมื่อทำการบันทึกเสร็จแล้วจะได้ File New Document


2. New Spreadsheet (ทำงานเหมือนกับ Excel)
2.1 พิมพ์หัวข้อ
2.2พิมพ์เนื้อหา
2.3 ทำการบันทึกข้อมูล


3. New Presentation (ทำงานเหมือนกับPower Point)
3.1 สำหรับตั้งชื่อเรื่อง
3.2 สำหรับเพิ่ม Slide
3.3 สำหรับลบ Slide
3.4 สำหรับเพิ่มกล่องข้อความบน Slide
3.5 สำหรับลบกล่องข้อความบน Slide
3.6 สำหรับเพิ่มรูปภาพ
3.7 สำหรับเปลี่ยน Themes
3.8 สำหรับ Run Slide
3.9 สำหรับ Save งาน


3.2 Insert Slide


3.3 Delete Slide


3.4 Insert Textbox


3.5 Delete Text Box


3.6 Insert Images --> Upload File






Insert Images --> Insert Link


ต้องหา Link รูปภาพจาก Internet มาใส่



Themes


Run



Save



Send --> Send Link



เป็นการส่ง Link File


Send --> Send as Attachment(s)


สามารถกำหนดความสำคัญของจกหมายได้



การตั้งค่าทั่วไป

การตั้งค่าต่างๆ สามารถเข้าไปโดยคลิ๊กที่ Preference บน Menu Bar จะประกอบด้วยรายการหลัก 8 รายการคือ General , Mail , Address Book , Calendar , Sharing , Import/Export , Shortcuts และ Zimlets


การตั้งค่าทั่วไป (General)
เป็นการตั้งค่าทั่วๆไป เช่น กำหนดค่าให้ตัวหนังสือ ตั้งค่าเวลาท้องถิ่น ตั้งค่าการแสดงผลจำนวนของเมล์ เปลี่ยนรหัสผ่าน เป็นต้น

Login Options

Login using ใช้งานเป็นลักษณะ Ajax หรือว่า HTML
Theme รูปแบบสีของการใช้งานที่เปลี่ยนได้ตามตและบุคคล
Language เลือกภาษาที่ใช้
TimeZone ตั้งค่าเวลาท้องถิ่น
Change Password ผู้ใช้งานสามารถเข้ามาแก้ไขเปลี่ยน User Password ได้เอง

Searches

Search Settings
- Include Junk Folder in Searches ค้นหาข้อมูลที่อยู่ในแฟ้มข้อมูลขยะ
- Include Trash Folder in Searches ค้นหาข้อมูลที่อยู่ในถังขยะ
Search Language
- Show advanced search language in search toolbar แสดงแถบเครื่องมือขั้นสูงในการค้นหา




Other

-Number of item to fetch when scrolling แสดงจำนวนรายการที่ต้องการแสดงในแต่ละหน้า
- Display checkboxes to quickly select items in lists (requires refresh) แสดงช่องทำเครื่องหมายเลือกรายการอย่างรวดเร็ว

การตั้งค่าเมล์

เป็นการตั้งค่าให้กับจดหมาย

Displaying Messages

Check for new mail every ให้ทำการเช็คเมล์ใหม่ทุกๆ กี่นาที

When I click Get Mail เมื่อคลิ๊กที่รับจดหมายจะให้ทำการรับจดหมายแบบไหน
- Run my default search ต้องคลิ๊กที่ปุ่ม Get Mail แล้วจะแสดงเมล์ใหม่
- Update my current view คลิ๊กอ่านเมล์อื่นๆ แล้วจะแสดงเมล์ใหม่

Display Mail เลือกการแสดงรายละเอียดให้จดหมาย
- As HTML (when possible) จัดแสดงจดหมายรูปแบบ HTML (หากสามารถจัดแสดงได้)
- As Text จัดแสดงจดหมายในรูปแบบข้อความ

Message Preview การแสดงตัวอย่างข้อความ
- Display snippets of messages in email list ตัวอย่างการแสดงผลของข้อความที่อยู่ในรายละเอียดอีเมล์
- Double-click opens message in new window เมื่อดับเบิ้ลคลิ๊กที่เมล์จะเปิดหน้าต่างใหม่ขึ้นมา

Images การดาวน์โหลดรูปภาพ
- Download pictures automatically in HTML Email ดาวน์โหลดรูปภาพที่แนบมาแบบอัตโนมัติ

When I read a message in the reading pane เมื่ออ่านข้อความในหน้าต่างการอ่าน
- Mark it read immediately ทำเครื่องหมายว่าอ่านแล้วทันที
- Mark it read arter  seconds ทำเครื่องหมายหลักจากผ่านไปแล้ว กี่วินาที
- Do not mark it read ไม่ทำเครื่องหมายว่าอ่านแล้ว

After I move or delete a message หลังจากย้าย หรือ ลบข้อความ
- Select the next message เลือกข้อความใหม่
- Select the previous message เลือกข้อความก่อนหน้า
- Select based on whether I was moving up or down in the list เลือกโดยขึ้นอยู่กับว่าถูกย้ายขึ้นหรือย้ายลงในรายการ

Default Mail Search  ในการค้นหาเมล์ให้เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการค้นหาเป็นหลัก



Receiving Messages

When a message arrives เมื่อมีข้อความเข้า
- Play a sound (requires QuickTime or Windows Media plugin) เล่นเพลงโดยต้องการโปรแกรมเล่นไฟล์เสียง
- Highlight the Mail tab มีเน้นสีที่แถบเมล์
- Flash the browser title ตรงแถบของบราวเซอร์จะมีแจ้งเตือนเมื่อมีข้อความเข้า
- Show a popup notification (requires Yahoo! BrowserPlus) มีหน้าต่างแจ้งข้อความอัตโนมัติ
- Forward a copy to  ส่งข้อความต่อไปยังอีเมล์ที่ต้องการ
- Don’t keep a local copy of messages ไม่เก็บสำเนาของข้อความไว้เมื่อทำการส่งต่อแล้ว
- Send a notification message to ส่งจดหมายแจ้งเตือนเมื่อได้รับจดหมายใหม่
- Send auto-reply message ส่งข้อความอัตโนมัติเวลาที่ท่านไม่อยู่
Read Receipt : When I receive a request for a read receipt เมื่อได้รับการร้องขอการรับข้อความที่ได้อ่านแล้ว
- Never send a read receipt ไม่ต้องส่งข้อความที่ได้อ่านแล้ว
- Always send a read receipt ส่งข้อความที่ได้อ่านแล้ว
- Ask me ถามก่อนทุกครั้ง
Messages from me : When I receive a message originally sent by me เมื่อส่งข้อความถึงตัวเอง
- Place in Inbox รับข้อความปกติโดยอยู่ที่กล่องข้อความเข้า
- Place in Inbox if I’m in To: or Cc: รับข้อความเมื่อมีชื่ออยู่ใน To: หรือ Cc: ในกล่องข้อความเข้า
- Ignore message ไม่รับข้อความ



Junk Mail Option

Block messages from:บล็อคข้อความจากอีเมล์แอดเดรสที่กำหนด
Allow messages from:อนุญาติข้อความจากอีเมล์แอดเดรสที่กำหนด


Access from Other Mail Clients

POP access :
Allow all mail,including old mail,to be downloaded : สามารถดาวน์โหลดจดหมายเก่าและจดหมายทั้งหมดได้
Allow only mail from now to be downloaded :

การตั้งค่าการเขียนข้อความ

การตั้งค่าการเขียนข้อความในการส่ง

Compose:
As HTML Font : สามารถปรับลักษณะตัวอักษรได้ Size: ปรับขนาดของตัวอักษร Color: เลือกสีตัวอักษร

As Text : ไม่สามารถปรับลักษระตัวอักษรได้


Setting :
Automatically save drafts of messages while you are composing : ทำข้อความแบบร่างโดยอัตโนมัติขณะที่กำลังเขียนข้อความ
Reply / Forward using format of the original message : ตอบกลับ / ส่งต่อโดยใช้รูปแบบของข้อความต้นฉบับ
Always compose in new window : สร้างหน้าต่างใหม่เวลาเขียนข้อความตลอด
Mandatory spellcheck before sending a message :บังคับตรวจสอบการสะกดคำก่อนที่จะส่งข้อความ
Save a copy to Sent folder :ทำการบันทึกจดหมายหลังจากส่งไปแล้ว

Reply: When replying to an email:

don't include original message : ไม่แสดงข้อความต้นฉบัยเวลาตอบกลับเมล์
Include original message : แสดงข้อความต้นฉบับเวลาตอบกลับเมล์


Include last message only : แสดงข้อความสุดท้ายของต้นฉบับ
Include original message as an attachment : แสดงข้อความต้นฉบับและไฟล์แนบ

Use prefix : ใช้คำนำหน้าข้อความ

Include headers : ให้แสดงผู้ส่งและผู้รับจากจดหมายต้นฉบับ


Forward: When forwarding an email:

Include last message only : แสดงข้อความสุดท้ายของต้นฉบับ
Include original message as an attachment : แสดงข้อความต้นฉบับและไฟล์แนบ

Prefix: Prefix included text with : ให้เลือกสัญลักษณ์คำนำหน้า

การตั้งค่าลายเซ็น


Add Signature : เพิ่มลายเซ็น
Signature Name : ช่องชื่อลายเซ็น


Format As Plain Text


Format As HTML



การกำหนดตำแหน่งของลายเซ็น
Above included messages : เลือกตำแหน่งให้อยู่ข้างบนข้อความ
Below included messages : เลือกตำแหน่งให้อยู่ด้านล่างข้อความ

การตั้งค่าบัญชี (IMAP , POP3)



ในแต่ละบัญชีอีเมล์สามารถปรับแต่งค่าต่างๆ ในส่วนของ Primary Account Settings
Accounts : สามารถเพิ่มบัญชีอีเมล์อื่นได้ โดยการคลิ๊กที่ปุ่ม "Add External Account" หลังจากนั้นให้ทำการตั้งค่าให้ถูกต้องเพื่อจะทำการดูดอีเมล์อื่นเข้ามาใน CMU Mail อย่างในตัวอย่าง จะทำการดูดอีเมล์จาก @chiangmail.ac.th


หลังจากกรอกข้อมูลเรียบร้อยแล้วให้ทำการกดที่ปุ่ม "Test Settings"


การตั้งค่าการกรองเมล์

การตั้งค่าการกรองเมล์  เป็นการสร้างเงื่อนไขให้กับ E-mail โดยอาจจะแยก เมล์ ตามบัญชีผู้ส่ง ชื่อเมล์ และ อื่นๆ โดยการตั้งค่าการกรองเมล์ สามารถทำได้โดยดังนี้

คลิก New Filter เพื่อทำการสร้างตัวกรอง E-mail

จะมีหน้าต่าง Add Filter ปรากฏขึ้นมา
- ให้ทำการตั้งชื่อการคัดกรอง E-mail

หากต้องการเลือกบางเมล์ คลิกเลือก Any หรือ ต้องการเลือก ทุกเมล์ให้คลิก เลือก All

ในกรอบ สีเหลียมด้านบนเป็นการตั้งเงื่อนไขให้กับการคัดกรอง E-mail โดยมีการแบ่งย่อยเงื่อนไงการคัดกรองเมล์ดังนี้

ใน Dropdown list ช่องแรก เป็นการตั้งเงื่อนไขว่าต้องการ คัดกรองจากอะไร


ใน Dropdown list ช่องที่สอง เป็นการตั้งเงื่อนไงย่อย จาก Dropdown list ช่องแรก ลงไปอีก
(ถ้าหากทำการเปลี่ยนเงือนไขที่ 1 เงื่อนไขที่ 2 จะเปลี่ยนตามไปด้วย)
เงื่อนไขต่างๆจะแบ่งหน้าที่การทำงานดังต่อไปนี้


From เป็นการกำหนดค่า คัดกรอง จากชื่อ From  


To  เป็นการกำหนดค่า คัดกรอง จากชื่อ To


Cc เป็นการกำหนดค่า คัดกรอง จากชื่อ Cc


Subject เป็นการกำหนดค่า คัดกรอง จากชื่อ Subject

Matches exactly คือ ตรงกับ
Does not match exactly คือ ไม่ตรงกับ
Contains คือ ประกอบด้วย
Does not contains คือ ไม่ประกอบด้วย
Matches wildcard contain คือ ตรงกับตัวแทนที่มีในข้อความ
Does not matches wildcard condition คือ ไม่ตรงกับตัวแทนที่มีในข้อความ

หมายเหตุ เงื่อนไขทั่ง 4 เงื่อนไข ใช้เงื่อนไขย่อย เหมื่อนกัน

 


Header Named เป็นการกำหนดค่า คัดกรอง จาก Header Named

หลังจากเรียก Header Neme เสร็จแล้วให้กรอกชื่อ Header ที่ต้องการคัดกรอง แล้ว เลือกเงื่อนไขย่อย

Matches exactly คือ ตรงกับ
Does not match exactly คือ ไม่ตรงกับ
Contains คือ ประกอบด้วย
Does not contains คือ ไม่ประกอบด้วย
Matches wildcard contain คือ ตรงกับตัวแทนที่มีในข้อความ
Does not matches wildcard condition คือ ไม่ตรงกับตัวแทนที่มีในข้อความ
Exist คือ ดักจับข้อความที่มีอยู่
Does not exist คือ ไม่ดักจับข้อความที่มีอยู่


Size เป็นการกำหนดค่า คัดกรอง จาก Size

เมื่อทำการเลือกเงื่อนไข Size เสร็จ จะมี Dropdown list ให้เลือก อีก
Under คือ ดักจับข้อมูลทีมีน้อยกว่า
Not under คือ ดักจับข้อมูลทีมีไม่น้อยกว่า
Over คือ ดักจับข้อมูลทีมีมากกว่า
Not over คือ ดักจับข้อมูลทีมีไม่มาก กว่า

หลังจากเลือกเสร็จ ก็ให้พิมพ์ ค่าที่ต้องการดักจับ
แล้วเลือกว่าต้องการดักจับ โดยให้ใช้หน่วยอะไร


หน่วยที่มีให้เลือก คือ
B คือ ไบต์
KB คือ กิโลไบต์
MB คือ แมกกะไบต์
GB คือ จิกะไบต์


Date เป็นการกำหนดค่า คัดกรอง จาก วันที่

โดยมีเงื่อนไขย่อย คือ
Before คือ ก่อนวันที่
Not Before คือ ไมได้ก่อนวันที่
after คือ หลังจากวันที่
not after คือ ไม่ได้หลังจากวันที่

เสร็จแล้วก็เลือกวันที่ที่ต้องการกำหนดเงื่อนไข

 


Body เป็นการกำหนดค่า คัดกรอง จาก Body

เมือทำการเลือก เสร็จจะมี Dropdown list ขึนมาให้เลือกอีกในส่วนนี้เป็นการเลือกว่า
Contains คือใน Body ประกอบด้วย
Does not contain คือ ใน Body ไม่ได้มีเป็นส่วนประกอบ


Attachment เป็นการกำหนดค่า คัดกรอง จาก สิ่งที่แนบมา

เมื่อทำการเลือกเสร็จ จะมี Dropdownlist ขึ้นมาให้เลือก
Exsits คือ สิ่งที่แนบมามีอยู่
Does not exists คือสิ่งที่แนบไม่ได้มีอยู่

หลังจากที่เลือกเสร็จ ก็พิมพ์ชื่อ สิ่งที่แนบมา ที่ต้องการคัดกรอง


Address in เป็นการกำหนดค่า คัดกรอง จาก ที่อยู่ใน From To cc Bcc

 

เมื่อทำการเลือกเงื่อนไขเที่อยู่เสร็จแล้ว จะมี ให้เราเลือกอีก( In อยู่ใน Not in ไม่อยู่ใน) ผู้ติดต่อของฉัน

 


Calendar Invite เป็นการกำหนดค่า คัดกรอง จาก ปฏิทินเชิญ

เมื่อทำการเลือกเสร็จ จะมี Dropdown ilst ให้เลือก
Is requested คือ มีการร้องขอ
Is replied คือ คือ เป็นคำตอบ

เมื่อทำการ ตั้งเงื่อนไขเสร็จแล้วให้ทำการพิมพ์เงื่อนไง ที่ต้องการคัดกรอง
หากต้องการเพิ่ม หรือลบ เงื่อนไงก็ทำโดยการคลิกปุ่ม  ได้

ในกรอบสีเหลียม ช่องที่ 2 นี้เป็นการกำหนดค่าการกระทำของเมล์ที่ถูกกรองสำเร็จ

ใน Dropdown list ก็มีเงื่อนไข ดังต่อไปนี้


Keep in Inbox คือ ถ้าหากตรงเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรอบด้านบน ให้ Mail ที่ถูกคัดกรองนั้น เข้าไปอยู่ใน Inbox
Discard คือ ถ้าหากตรงเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรอบด้านบน ให้ Mail ที่ถูกคัดกรองนั้น ถูกทำการลบทิ้งทันที
File into Folder คือ ถ้าหากตรงเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรอบด้านบน ให้ Mail ที่ถูกคัดกรองนั้น เข้าไปอยู่ใน Folder ที่เราต้องการจะนำไปไว้
Tag with คือ ถ้าหากตรงเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรอบด้านบน ให้ Mail ที่ถูกคัดกรองนั้น ให้ทำการติด Tag ตามที่เราได้กำหนดTag ไว้
Mark  คือ ถ้าหากตรงเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรอบด้านบน ให้ Mail ที่ถูกคัดกรองนั้น ให้ทำการ ติดสัญลักษณ์ ไว้ใน Mailที่ถูกคัดกรอง
Forward to Address คือ ถ้าหากตรงเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในกรอบด้านบน ให้ Mail ที่ถูกคัดกรองนั้น ให้ทำการส่ง Mail นั้นไปหา E-mail ที่เราได้ทำการกำหนดไว้

หากต้องการเพิ่ม หรือลบ เงื่อนไงก็ทำโดยการคลิกปุ่ม  ได้

หลังจากที่เราได้ทำการกำหนดเงื่อนไขการกรอง E-Mail เสร็จแล้ว ก็ คลิกปุ่ม OK หรือ Cancel หากต้องการยกเลิกเงื่อนไขที่ทำการสร้างดังกล่าว

เมื่อทำการกำหนดเงื่อนไขเสร็จ จะปรากกฎ Filter Name ที่เราได้ทำการสร้างขึ้น

ถ้าหากต้องการแก้ไขเงื่อนไขที่เราสร้างขึ้น นั้นสามารถทำได้ 2 วิธี โดย ขวาที่ชื่อ Filter Name แล้วเลือกเมนู Edit Filter หรือ คลิกที่ชื่อแล้ว มาคลิกที่ Edit Filter ด้านบน

เมื่อทำการคลิกเสร็จแล้ว จะปรากฏ หน้าต่าง Edit Filter แล้วทำการเลือกส่วนที่ต้องการแก้ไข

* เงื่อนไขต่างๆเหมือนหน้า Add Filter

หากต้องการ Delete Filter ที่สร้างขึ้น นั้น สามารถทำได้โดย คลิกที่ชื่อ Filter Name ที่ต้องการลบ แล้วมาคลิกที่ เมนู Delete Filter ด้านบน

หากต้องการ เคลื่อนย้าย Filter Name ที่เราสร้างขึ้นก็ทำได้โดย คลิกที่ชื่อ Filter Name แล้วเลือกเมนูด้านบน หากต้องการย้ายลงมาด้านล่าง คลิก Move Down หรือ ต้องการ ย้ายขึ้นด้านบน คลิก Move Up

ตัวอย่างการกรอง E-Mail ในการติด Tag

ตั้งชื่อ Filter Name แล้ว ตั้งเงื่อนไข การกรอง E-Mai

กำหนดการติดTag E-Mail ที่เข้ามาตามเงื่อนไข

คลิก Browse...

เลือกTagที่ต้องการติด หลังจากนั้น คลิกปุ่ม OK

เมื่อคลิกปุ่ม OK เสร็จเรียบร้อย จะปรากฏ Filter เงื่อนไขที่เราตั้งค่าไว้

เมื่อได้รับ E-Mail ที่มีคำว่า Tag E-Mail นั้นจะถูกติดTag โดยอัตโนมัติ

การตั้งค่าสมุดรายชื่อ



Options
Settings :
Add new contacts to "Emailed Contacts" : เพิ่มผู้ติดต่อใหม่เป็นอีเมล์ผู้ติดต่อ
Initially search the Global Address List when using the contact picker : ในขั้นแรกของการค้นหารายชื่อที่อยู่ทั้งหมดของระบบเมื่อใช้ตัวเลือกที่ติดต่อ


Autocomplete
Include addresses in the Global Address List : รวมที่อยู่ในรายชื่อที่อยู่ในรายชื่อทั้งหมดของระบบ
Include addresses in shared address books : รวมที่อยู่ในหนังสือที่อยู่ที่ใช้ร่วมกัน

การตั้งค่าปฏิทิน



Default View : การแสดงผลเริ่มต้น
- Day View : มุมมองแบบวัน


- Work Week View : มุมมองแบบวันทำงาน


- 7 Day Week View : มุมมองแบบสัปดาห์


- Month View : มุมมองแบบเดือน


- List View : มุมมองแบบรายการ


- Schedule View : มุมมองแบบตารางเวลา



Start week on : เลือกวันเริ่มของสัปดาห์

การตั้งค่าการใช้งานร่วมกัน

Folder share by me คือการที่เราส่ง share calendar ให้กับเพื่อนเรา มันก็จะขึ้นมาให้รู้ว่าเราได้ Share กับเพื่อนคนนี้ เป็นFile ชนิดอะไร มีสิทธิอะไร และยังสามารถแก้ไขให้สิทธิให้ได้

Folder share with me that I have accepted คือ เมื่อเรา กดรับshare ของเพื่อนเราเรียบร้อยแล้ว มันก็จะขึ้นมาอยู่ในส่วนนี้และบอกรายละเอียดของ File

 

การตั้งค่านำเข้า / ส่งออก

Import / Export
ทำหน้าที่เหมือนกับ Backup and Restore
Export คือการ Backup
Import คือการ Restore

เมื่อทำการ Export เสร็จ เราก็จะได้ File ที่มีสกุล .ics ออกมา

Import
กดเลือกไฟล์


เลือกไฟล์ ที่มีสกุล .ics แล้วกด Open

ชื่อไฟล์จะปรากฏ แล้วกด Import

จะปรากฏหน้า Import succeeded แล้วกด OK



การเปลี่ยนรหัสผ่าน ( Change Password )

ให้เข้าไปที่ เมนู Preferences และไปที่แถบ General แล้วเลือกที่ Change Password



หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมาซึ่งเป็น http://account.cmu.ac.th


ให้ทำการล็อคอินโดยใช้ username และ password เดียวกับ CMU Mail
หลังจากนั้นให้เลือกที่เมนู "เปลี่ยนรหัสผ่าน"



การเปลี่ยนรหัสผ่านนั้นจำเป็นต้องกรอกรหัสผ่านปัจจุบันให้ถูกต้องก่อน หลังจากนั้นให้กรอกรหัสผ่านใหม่ 2 ครั้ง เพื่อเป็นการยื่นยันความถูกต้องของรหัสผ่านใหม่
หลังจากการกรอกรหัสผ่านใหม่เรียบร้อยแล้ว ให้คลิ๊กปุ่ม "ดำเนินการ"



บริการส่งต่อเมล์ ( Email Alias )

บริการส่งต่อเมล์ เป็นบริการส่งต่อเมล์จาก @cm.edu,@chaingmai.ac.th หรือ @cmu.ac.th ที่ต้องการมายังเมล์ @cmu.ac.th ของท่านให้โดยอัตโนมัติ
โดยให้เข้าไปทำการล็อคอินที่ http://account.cmu.ac.th



หลังจากนั้นให้เลือกเมนู "บริการส่งต่อเมล์"


ต่อจากนั้นให้คลิ๊กที่ปุ่ม "ใส่ข้อมูลเมล์ส่งต่อใหม่"


ในแถบ "เมล์ที่ต้องการทำการส่งต่อเมล์ใหม่" ให้ผู้ใช้งานกรอกอีเมล์ที่ต้องการส่งต่อที่ต้องการ ที่อยู่ภายใต้โดเมน @cm.edu , @chiangmai.ac.th หรือ @cmu.ac.th แล้วตามด้วยรหัสผ่านของอีเมล์นั้นๆ
เมื่อกรอกเสร็จเรียบร้อยแล้วให้คลิ๊กปุ่ม "ดำเนินการ"




เมื่อระบบได้ทำการส่งต่อเมล์เรียบร้อยแล้ว จะมีเมล์ยืนยันส่งมาที่ @cmu.ac.th

เมื่อมีอีเมล์ส่งไปที่ @chiangmai.ac.th อีเมล์ฉบับนั้นก็ส่งต่อมาที่ @cmu.ac.th โดยอัตโนมัติ

Microsoft Office Outlook 2007

ขั้นตอนการกำหนดค่า Mail Client Microsoft office Outlook 2007 เพื่อใช้งานอีเมล์ CMU Mail ให้กำหนดค่าต่างๆ ดังนี้

Server Information
Account Type : IMAP
Icoming mail server : mail.cmu.ac.th
Outgoing mail server(SMTP) : mail.cmu.ac.th

Server Port Numbers
Incoming server(IMAP) : 993
Use the following type fo encrypted connection : SSL

Outgoing server(SMTP) : 465
Use the following type fo encrypted connection : SSL

ผู้ใช้งานสามารถกำหนดค่าต่างๆ โดยวิธีการดังนี้

เปิดโปรแกรม Microsoft Office Outlook 2007



เลือก Tool -> Account Settings เพื่อกำหนดค่าตามรูป



เลือก New กำหนดค่าต่างๆ ตามรูป เลือก Manually configure server settings or additional server type แล้วกด "Next"


หลังจากนั้นจะมีหน้าต่างใหม่ขึ้นมา ให้เลือกที่ Internet E-mail -> Next



ให้ผู้ใช้งานกำหนดค่า User Information , Server Information , Logon Information แล้วเลือก More Settings



ให้ผู้ใช้งานทำการกำหนดค่าต่างๆ ที่ General กำหนดชื่อ E-mail Address ของผู้ใช้งาน @cmu.ac.th



เลือก แถบ Outgoing Server กำหนดค่าต่างๆ ตามรูป


เลือก แถบ Advanced กำหนดค่าต่างๆ ตามรูป จากนั้นคลิ๊กปู่ม "OK"



ต่อจากนั้นให้เลือก "Next" แล้วเลือก "Finish"





เมื่อทำการกำหนด่าต่างๆ เรียบร้อยแล้วจะปรากฏชื่อ account ของผู้ใช้งานที่ได้ทำการกรอกไว้ ให้ทำการ "Close" เป็นอันเสร็จสิ้นการกำหนดค่าต่างๆ



จากรูปปรากฏ Folder ของผู้ใช้ที่ิเป็น @cmu.ac.th ให้ทำการคลิ๊กปุ่ม "Send/Receive" เพื่อทำการรับอีเมล์ ใน mail.cmu.ac.th มาที่โปรแกรม Microsoft Office Outlook 2007





Mozila Thunderbird

การใช้งาน Mozilla Thunderbird

คลิกรูป Icon Mozilla Thunderbird ตรงหน้าจอ

จะมีหน้าต่างขึ้นมาให้คลิกปุ่ม OK

จากนั้นจะเข้าสู่ตัวโปรแกรม Mozilla Thunderbird ให้คลิกเมนู File >>> New >>> Mail Account…  เพื่อทำการสร้าง Account

กรอก Your Name Email ,address Email, Password ให้ครบแล้วคลิก Continue

ให้ทำการรอ และ คลิก Create Account

เมื่อทำการสร้างAccount เสร็จ จะปรากฏ Account ด้านซ้ายมือที่เราสร้าง

หากEmailไม่มีการUpdateสถานะให้คลิก Get mail เลือกAccount