Seizure
Ref : แนวทางเวชปฎิบัติโรคลมชักสำหรับแพทย์

รายละเอียดของการชัก

  1. อาการก่อนชัก (Pre-ictal symptom)
    1. อาการนำ (Prodome symptom) ; กระสับกระส่าย ปวดหัว มักเป็นนาน 1- 60 นาที ก่อนชัก
    2. อาการเตือน (Aura) = อาการแรกของชัก ผู้ป่วยจะบอกได้ว่าคืออะไร มักสัมพันธ์กับ brain lesion มักเป็นรูปแบบเดิมๆ(stereotype) นาน < 10 min

  2. อาการชัก (Seizure symptom)
    1. ทำอะไรอยู่ก่อนที่จะชัก
    2. เกิดตอนไหน ; กลางวัน กลางคืน
    3. ความบ่อยที่ชัก
    4. ความรู้สึกตัวเป็นอย่างไรบ้าง
    5. การเคลื่อนไหวชองร่างกาย ;
      1. กรอกตามองบน/มองไปข้างเดียวกัน (versive)
      2. กระตุก ช่วงเวลาสั้นๆ (myoclonic)
      3. กระตุก เป็นจังหวะ ชุดๆ (clonic)
      4. เกร็งแขน + ขา ข้างเดียว /สองข้าง (asymmetrical/symmetrical tonic)
      5. เกร็งแล้วกระตุก (tonic-clonic)
      6. เคลื่อนไหวซ้ำๆ (automotor) เช่น กระพริบตาถี่ๆ เคี้ยวปาก หยิบจับของ 
    6. การหายใจ ; หยุดหายใจ ตัวเขียว น้ำลายฟูมปาก
    7. ระบบประสาท Autonomic ; Diaphoresis Vomiting Arrythmia ฉี่ราด อุจจาระราด
    8. Trauma ที่เกิด ; กัดลิ้น (lateral tongue bite), contusion , fracture

  3. อาการหลังชัก (Post-ictal symptom)
    1. ปวดหัว ซึม หลับ สับสน หูแว่ว ภาพหลอน ไม่เข้าใจคำถาม พูดไม่ได้
    2. Todd's paralysis = แขนซ้ายขยับไม่ได้
    3. ถามด้วยว่า "นานเท่าไหร่ที่หลับจากชักแล้ว กลับมาเป็นปกติ"
  4. ปัจจัยที่มากระตุ้น (Precipitating factor)
  5. Infeciton / Stroke / Fever / Hypo/hyper natremia / Hypercalcemia
  6. Hx of head injury (cortical involvement)
  7. Family history
ชนิดของยากันชัก
  1. Phenytoin (Dilantin®)
  2. Phenobarb itol (Phenobarb®)
  3. Na valproate (DepakiN®)
  4. Diazepam (Valium®)
  5. Midazolam (Dormicum®)
  6. Ketamine (Calypsol®)
  7. Chloral hydrate
  8. Haloperidol (Haldol®)