การทำการวิเคราะห์ข้อมูล



เมื่อเราได้ทำการรวบรวมข้อมูลได้แล้วสิ่งที่ต้องนำมาปฏิบัติต่อเพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีก็คือ การนำข้อมูลที่ได้มาทำการวิเคราะห์หาข้อสรุปเพื่อจะได้นำไปพัฒนาในขั้นการสังเคราะห์หรือการพัฒนาข้อมูลเพื่อนำไปปรับใช้ในการทำงานได้อย่างเหมาะสมอีกครั้งหนึ่ง

การทำการวิเคราะห์ข้อมูลนั้นมีด้วยกันหลายวิธีแล้วแต่ใครจะถนัดหรือชอบกรรมวิธีแบบไหนแต่ในที่นี้ผู้เขียนข้อนำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการทำ SWOT Analysis มาใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลสาเหตุที่นำวิธีนี้มาใช้เพราะผู้เขียนเห็นวาเป็นวิธีที่มีขั้นตอนง่ายไม่ยุ่งยากสามารถทำความเข้าใจได้ง่ายในทุกระดับและสามารถเห็นผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรมได้ชัดเจน


   




ความหมายของคำว่า SWOT


        SWOT  เป็นคำย่อมาจาก Strengths, Weaknesses, Opportunities and Threats 



Strengths คือ จุดแข็งหมายถึง ความสามารถและสถานการณ์ภายในองค์กรขณะนั้นเป็นไปในทางบวก ซึ่ง

องค์กรสามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ (Hutanuwatr, 1998) หรือหมายถึงการดำเนินงานภายในองค์กรที่ทำได้ดี (สมยศม 2538) 

หากมองในตัวบุคคลคือจุดแข็งของบุคคลว่า มีความรู้ความสามารถด้านใดสามารถทำอะไรได้ดีโดดเด่นหรือมีควมถนัดในด้านใดชอบหรือสนใจในด้านใดเป็นพิเศษ



Weaknesses  คือ จุดอ่อน  หมายถึง สถานการณ์ภายในองค์กรที่เป็นลบและด้อยความสามารถ ซึ่งองค์กรไม่สามารถนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการทำงานได้เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ (Hutanuwatr, 1998)  หรือหมายถึง  การดำเนินงานภายในที่องค์กรทำได้ไม่ดี (สมยศ,2538)

หากมองในระดับตัวบุคคล จุดอ่อน หมายถึงสิ่งที่บุคคลนั้นไม่มีความรู้และเข้าใจในสิ่งนั้น  ไม่มีความถนัดในสิ่งนั้นอาจสรุปได้ว่าจุดอ่อนคือสิ่งที่ไม่มีความรู้ความชำนาญหรือความเข้าใจในการดำเนินการ



Opportunities คือ โอกาสหมายถึงปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่เอื้ออำนวยให้การทำงานขององค์กรบรรลุวัตถุประสงค์ (Hutanuwatr, 1998) หรือหมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินการขององค์กร (สมยศ, 2538)



Threats คืออุปสรรค หมายถึงปัจจัยและสถานการณ์ภายนอกที่ขัดขวางการทำงานขององค์กรไม่ให้บรรลุวัตถุประสงค์ (Hutanuwatr, 1998) หรือหมายถึง สภาพแวดล้อมภายนอกที่เป็นปัญหาต่อองค์กร (สมยศ, 2538)



บางครั้งในการจะกำหนดว่าอะไรหรือโอกาสอะไรคืออุปสรรค นั้นค่อนข้างจะยากเพราะทั้งสองสิ่งนี้สามารถเปลี่ยนสลับซึ่งกันและกันได้เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนไป ซึ่งในสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปนั้นอาจจะทำให้สิ่งที่เป็นโอกาสกลับมาเป็นอุปสรรคได้  ในทำนองเดียวกันสิ่งที่เคยเป็นอุปสรรคก็สามารถสลับกับมาเป็นโอกาสได้เช่นกัน  ยกตัวอย่างเช่น  อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่างประเทศ, ราคาน้ำมันหรือต้นทุนในการขนส่ง  ซึ่งอาจจะรวมไปถึงนโยบายของภาครัฐที่มีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามสถานการณ์โลกด้วยตัวอย่างเช่น นโยบายส่งเสริมธุรกิจขนาดเล็ก, นโยบายด้านการคลัง, ด้านการเงินและอัตราดอกเบี้ยเป็นต้น



สิ่งที่เราสามารถสังเกตุได้ง่ายๆเกี่ยวกับ SWOT ก็คือ ปัจจัยภายในกับปัจจัยภายนอกหรืออาจจะกล่าวได้ว่าเป็นปัจจัยที่ควบคุมได้กับปัจจัยที่ควบคุมไม่ได้ และอะไรคือเจ้าสองสิ่งนี้ และเจ้าสองสิ่งนี้เกี่ยวข้องกับอะไรในSWOT นักศึกษาลองพิจารณาดูและลองให้คำตอบซิว่า  อะไรคือปัจจัยภายในและอะไรคือปัจจัยภายนอก  สิ่งใดควบคุมได้ สิ่งใดควบคุมไม่ได้

Download Full Text