“สื่อ” (media) ศัพท์คำหนึ่งที่ถูกใช้โดยทั่วไป แต่ในความหมายที่แท้จริงของคำว่า”สื่อ”นั้นเป็นคำที่คลุมถึงเรื่องทั้งหมดของระบบการสื่อสารสมัยใหม่รวมถึงสื่อที่ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างหลากหลาย อย่างเช่นพวก interactive multimedia และยังรวมถึงพวก วิดีโอเกมส์ คอมพิวเตอร์ และอินเตอร์เน็ต และตัวสื่อเองก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาด้วยพัฒนาการของรูปแบบใหม่ๆและ เทคโนโลยี แต่อย่างไรก็ตามการที่สื่อจะเป็นสื่อที่สมบูรณ์ได้นั้นเกิดขึ้นจากอัตลักษณ์และพัมนาการทางประวัติศาสตร์รวมถึงปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดทางสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งสิ่งเหล่านี้เป็นตัวางเค้าโครงให้สื่อสามารถที่จะนำพาเราไปสู่นิยามความหมายเกี่ยวกับ "สื่อ"ได้ การเริ่มต้นของยุคสื่อได้เกิดขึ้นเมื่อประมาณ500ปีมาแล้ว เมื่อมีการสร้าง แท่นพิมพ์หล่อตัวพิมพ์มีการประดิษฐ์สื่อประเภทที่เคลื่อนย้ายได้ เช่น หนังสื่อเล่มแรก คือThe Gutenberg Bible พิมพ์ขึ้นในปีค.ศ.1546 การตีพิมพ์ข่าวสารเริ่มในปี ค.ศ.1621 และในเวลาต่อมาเทคโนโลยีการพิมพ์ก็ได้มีการพัฒนาอย่างมากใน ค.ศ. 1814 มีการใช้การพิมพ์โดยพลังไอน้ำในช่วง ค.ศ.1850 - 1950 ได้มีการพัฒนาด้านต่างๆมาก เช่น กระบวนการถ่ายภาพ เครื่องพิมพ์ดีด โทรเลข แผ่นเสียง รถยนต์ ภาพยนตร์ และอื่นๆ ในช่วงครึ่งแรกของศตวรรษที่ 20 ความเจริญรุดหน้าเป็นไปอย่างรวดเร็ว การใช้สื่อใน ทศวรรษที่ 1950 เป็นการใช้ที่เป็นเอกเทศแยกจากกันแต่ละประเภทไม่ว่าจะเป็นภาพสไลด์ ภาพยนตร์ หรือเทปเสียง จนกระทั่ง ค.ศ.1980 เป็นต้นมา ได้มีการนำคอมพิวเตอร์ เข้าไปใช้ร่วมกับสื่อ และในปัจจุบัน ศตวรรษที่ 21 สามารถนำสื่อมารวมให้อยู่ในรูปแบบเดียวกันเป็นระบบดิจิทัล (digital)
“อะไรคือสิ่งที่สือทำกับเรา?” ในปัจจุบันนี้สื่อได้เข้ามามีบทบาทอย่างมากต่อสังคมในยุคปัจจุบันในช่วงวิกฤตสังคมไทยในรอบ 2-3 ปีที่ผ่านมานั้น สื่อต่างๆไม่ว่าจะเป็นสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ และอินเตอร์เน็ตนั้น จะได้รับความสนใจจากคนในสังคมมากขึ้นเนื่องจากสังคมไทยในปัจจุบันได้มีวิวัฒนาการการก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ไม่ว่าจะเป็นทั้งในเรื่องการรับรู้ข่าวสาร หรือการกระจายข่าวสาร เนื่องจากเทคโนโลยีในปัจจุบันเอื้ออำนวยในส่วนนี้อยู่มาก จึงทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ในสังคมได้รับรู้ข่าวสารที่ทันสถานการณ์ได้ทันที จึงไม่เป็นที่น่าแปลก ที่ทำไมสื่อจึงเข้ามามีบทบาทอย่างมากในชีวิตประจำวันของคนในสังคมยุคปัจจุบันนี้ สื่อในสังคมขณะนี้ มีทั้งสื่อแท้และสื่อเทียม สื่อแท้ในที่นี้ก็คือพวกนักข่าว หรือนักหนังสือพิมพ์ ที่ได้มีการวิเคราะห์และไตร่ตรองถึงการนำเสนอว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่จะสื่อไปให้ประชาชนหรือสังคมรับรู้นั้นว่าข่าวที่มีการนำเสนอนั้นจะมีผลกระทบ อย่างไรบ้างต่อสังคมในการนำเสนอ และมีการนำเสนอข่าวอย่างสร้างสรรค์ “สื่อทำงานอย่างไร”(How the media work) สื่อจะเป็นตัวที่แสดงให้เราเห็นว่า โลกนี้เป็นเหมือนกับอะไร สร้างความเข้าใจที่มีเหตุผลเกี่ยวกับโลกให้กับเรา กระบวนการเกี่ยวกับการเป็นตัวแทน และการตีความ ในการเป็นตัวแทนของสื่อ สื่อได้ให้คำอธิบายต่างๆ เกี่ยวกับความเข้าใจโลกที่เราอาศัยอยู่ และยังมีบทบาทหน้าที่เกี่ยวกับการตีความโดยการให้สิทธิพิเศษแก่บางประเด็นและเอกลักษณ์บางอย่างอย่างเหนียวแน่น ในขณะที่ได้ลดคุณค่าต่อประเด็นอื่นๆลง ในบทบาททางสังคมนั้น สื่อก็ได้กำหนดความเป็นชาย- หญิง , คนขาวและคนที่ไม่ใช่คนขาว ในส่วนของทัศนคติที่ตายตัวเกี่ยวกับสิ่งที่น่าปรารถนาและสิ่งที่ไม่น่าปรารถนา ซึ่งสื่อยังคงนำเสนออย่างต่อเนื่อง สื่อได้ให้โครงสร้าง เค้าโครง และแบบแผนแก่เราสำหรับทำความเข้าใจในเรื่องชาติพันธุ์และประเด็นเกี่ยวกับเรื่องเพศ ส่วนที่กล่าวมานี้ไม่ได้กล่าวว่า สื่อได้ตระเตรียมหรือชี้นำแนวความคิดของเรา แต่เป็นการกล่าวถึงว่าสื่อมีอิทธิพลอย่างไรในสังคมปัจจุบัน ซึ่งอธิบายได้ว่า สื่อทำให้เรามองตัวของพวกเราเองและคนอื่นอย่างไร เราจะได้เข้าใจเรื่องเพศ เชื้อชาติ และเอกลักษณ์ของตัวเราเองในฐานนะที่เป็นผู้ชายหรือผู้หญิง เป็นคนขาวหรือไม่ใช่คนขาว ดังที่Richard Dyer กล่าวไว้ว่า “คนเราจะถูกมองอย่างไร ขึ้นอยู่กับส่วนที่ว่า เราถูกปฏิบัติอย่างไร เราปฏิบัติกับคนอื่นโดยวางอยู่บนพื้นฐานที่ว่าเรามองพวกเขาอย่างไร การมองอันนั้นมาจากการเป็นตัวแทน”(Dyer 1993,p.1) แต่แล้วผลผลิตของสื่อก็ไม่ได้เพียงแต่แสดงหรือนำเสนอโลกที่แท้จริงเท่านั้น สื่อยังได้สร้างและเป็นตัวแทนของความจริง ผลผลิตของสื่อจำนวนมากนำเสนอโลกความจริงใหม่อีกครั้ง(re-present) ผลผลิตสื่อเหล่านี้ไม่ใช่โลกของความจริงในตัวของมันเอง พวกมันเป็นเพียงตัวแทนใหม่ที่สร้างขึ้นมา สื่อเป็นเพียงหนทางหนึ่งในหนทางต่างๆที่ทำให้เราและสังคมเข้าใจโลกหรือสร้างโลกขึ้นมา สื่อไม่ใช่พลังอำนาจทางสังคมตัวเดียวที่สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโลกเรา และไม่ได้ควบคุมเราเกี่ยวกับการมองโลก และการที่เรามีความคิด ทัศนคติ เกี่ยวกับสังคม เกี่ยวกับโลก ว่าเป็นเช่นไร เพราะการที่เราจะตัดสินอะไรซักอย่างมันจะอำนาจอื่นๆเข้ามามีส่วนร่วมด้วย แต่สื่อบางประเภทที่ถูกควบคุม และถูกสร้างขึ้นมาโดยคนบางกลุ่มซึ่งมีความเข้าใจเกี่ยวกับสังคมในนามของคนอื่น ผู้ผลิตสื่อเหล่านี้ไม่ใช่กลุ่มสังคมที่แยกตัวออกไปอย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาด พวกเขายังคงเป็นส่วนหนึ่งของผู้รับสื่อและสังคมในภาพรวมทั้งหมด พวกเขาเป็นกลุ่มคนเล็กๆ กลุ่มที่สลับซับซ้อนที่ประกอบด้วยบุคคล ดังต่อไปนี้ บรรดาเจ้าของและผู้จัดการทางธุรกิจ , บุคลากรในฝ่ายสร้างสรรค์ , บรรดาผู้ทำงานฝ่ายเทคนิค ซึ่งบรรดาผู้จัดบางคนมีความสนใจในเรื่องการสร้างสรรค์ และบรรดานักสร้างสรรค์ส่วนใหญ่ต่างตระหนักถึงความต้องการและการบีบบังคับทางการเงิน อำนาจทางการเงินเข้าคุกคามสื่อ อิสระภาพของสื่อถูกจำกัดลงเนื่องจากการที่สื่อมีการแข่งขันกันสูงและมีเรื่องของผลประโยชน์ทางธุรกิจเข้ามาเกี่ยวข้องจึงทำให้การทำงานของสื่อไม่มีเสรีภาพในการนำเสนอข่าวสารมากเท่าใดนัก แม้แต่ทีวีเสรี และทีวีสาธาระณะ ยังถูกคุกคามจากกลุ่มนายทุน จึงทำให้สื่อไม่มีอิสระในการทำงานไม่มีเสรีภาพในการนำเสนอข้อมูลที่แท้จริงต่อสังคมเท่าใดนัก ด้วยเหตุนี้จึงทำให้สื่อมวลชนทั้งหลายนำเสนอข้อมูลโดยไม่คำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมมากเท่าใด ด้วยเหตุนี้นักสื่อสารมวลชนในยุคไซเบอร์นี้จึงถูกสังคมหรือนักวิชาการตั้งคำถามต่อกลุ่มนักสื่อสารมวลชนว่า “จรรยาบรรณของสื่อมวลชน และสิทธิเสรีภาพของสื่อมวลชนอยู่ที่ใด สื่อบางสื่อได้ขายตัวเองจนประสบความสำเร็จต่อประชากรจำนวนมาก สื่อพวกนี้สามารถเอาชนะใจของผู้รับสื่อขนาดใหญ่เพื่อที่จะอยู่รอดและเจริญเติบโตทางเศรษกิจต่อไป ความต้องการนี้เป็นไปเพ่อบรรลุถึคงความนิยมที่ค่อนข้างซับซ้อน เมื่อแรกที่โทรทัศน์ในเชิงพาณิชย์ได้ถูกนำเสนอ สังคมตะวันตกต่างๆบรรดาผู้รับสื่อทั้งหลายได้หมุนลูกบิดไปยังโทรทัศน์ช่องเหล่านั้น ซึ่งเหล่าสถานีโทรทัศน์เหล่านี้ได้ให้ความบรรเทิงอันที่นิยมชมชอบส่วนใหญ่แก่พวกเขา มันเป็นการตีจากที่สำคัญไปจากสถานีโทรทัศน์สาะรณะ อย่างเช่นสถานีโทรทัศน์ABC ของออสเตรเลีย และBBCของอังกฤษ ซึ่งสถานีเหล่านี้ได้นำเสนอรายการโทรทัศน์ให้กับบรรดาชนชั้นกลาง และค่านิยมต่างๆของคนที่มีการศึกษาและพวกรสนิยมสูง ช่องสัญญานโทรทัศน์เหล่นนี้ยังคงต่อสู้ดิ้นรนกับความต้องการที่จะรักษาจำนวนผู้ดูหรือเรตติ้งต่อไปอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผลที่ตามมาคือ ความขัดแย้งทางสังคมและนี่อาจเป็นความขัดแย้งที่น่าสนใจอันหนึ่งระหว่าค่านิยมหรือคุณค่าต่างๆของผู้ผลิตสื่อกับความปรารถนาของผู้รับสื่อทั้งหลาย ความขัดแย้งในเชิงตรงข้ามกันอันหนึ่งที่ได้รับการเปิดเผยออกมาในแนวทางเกี่ยวกับความพึงพอใจ ทำให้เราไม่สามารถเลี้ยงได้เลยในเรื่องของความนิยม มันเป็นการยอมรับเกี่ยวกับพลังอำนาจต่างๆของผู้รับสื่อหรือผู้บริโภคสื่อ ความขัดแย้งในเชิงตรงข้ามนี้ ได้ถูกให้ความกระจ่างโดยวิธีการให้นิยามความหมายเกี่ยวกับวัฒนธรรมป๊อปปิวล่าร์ที่แตกต่างกัน2วิธี คือ วิธีการแรก ได้ให้ความหมายของวัฒนธรรมนี้ในฐานะที่เป้นการดำเนินรอยตามวัฒนธรรมที่เป็นเรื่องเกี่ยวกับผู้คนทั้งหลาย นั่นคือ พวกมันถูกสร้างขึ้นมาในฐานะองค์ประกอบหนึ่งโดยผู้คนทั้งหลายโดยตัวของพวกเค้าเอง วิธีการที่สอง ได้ให้ความหมายวัฒนธรรมป๊อปปิวล่าร์ ในฐานะที่เป็นวัฒนธรรมเพื่อประชาชน อันเป็นการเสนอว่า บางสิ่งบางอย่างได้ถูกถ่ายทอดลงมาสู่พวกเขาซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขายอมรับ ซึ่งความแตกต่างสองสิ่งนี้เป็นความแตกต่างที่ใหญ่มากอันหนึ่งระหว่างวัฒนธรรมที่เกี่ยวกับผู้คน และมาจากผู้คน กับวัฒนธรรมที่ทำขึ้นเพื่อประชาชน ความแตกต่างนี้เป็นสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการคิดถึงพลังอำนาจของสื่อ ทำให้สื่อต้องหันกลับมามองดูตัวเองว่า ส่วนใหญ่แล้วพลังอำนาจมันได้วางไว้ที่บรรดาผู้ผลิตทั้งหลาย หรือผู้ใช้ , ผู้รับสื่อ , ผู้บริโภคทั้งหลายกันแน่ หรือเนื้อหาของสื่อได้มาจากวัฒนธรรมของชนชั้นหัวกระทิของสังคม หรือจากวัฒนธรรมของกลุ่มคนส่วนใหญ่ของสังคมกันแน่ ซึ่งสองสิ่งนี้แท้จริงแล้วอาจเกิดจากปัญจัยพื้นฐานที่สำคัญของทั้งคู่ที่ผูกมัดเข้าด้วยกันก็ได้
ขณะที่ความสลับซับซ้อนของสังคมได้สร้างนิยามความหมายของสื่อขึ้นมา ตัวสื่อเองก็ได้รับการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีและรูปแบบเกี่ยวกับการสื่อสารของมนุษย์ และการถ่ายทอดข้อมูลที่ไม่ได้เป็นไปในลักษณะทางเดี่ยว บรรดาผู้รับเกี่ยวกับสารที่สื่อออกมาได้ถูกนำไปเกี่ยวข้องกับกระบวนการสื่อสารด้วย ในฐานะที่เป็นส่วนหนึ่งของวงจรย้อนกลับที่มีอิทธิพลต่อการผลิตสื่อ จะเห็นได้จากรูปแบบของสื่อจำนวนมาก เช่น โทรทัศน์ วิทยุ ภาพยนตร์ และหนังสือพิมพ์ มีการไหลเลื่อนที่ไม่สมดุลกันของการสื่อสาร จากด้านหนึ่งคือผู้ส่งสาร ไปสู่อีกด้านหนึ่งของผู้รับสารที่มีเป็นจำนวนมาก ดังที่เราได้สัมผัส เฉกเช่นปัจจุบันนี้
|