"โลกที่หมุนกับวัฒนธรรมทางเพศที่ถูกเปลียนไป....."
 

เขียนโดย Kedsaraporn Khumdee

ต้องยอมรับความจริงว่าในทุกวันนี้ โลกกลมๆ ใบที่เราอาศัยอยู่นั้น สวิงตัวหมุนเร็วขึ้นกว่าเดิมอย่างไม่น่าเชื่อ โดยเฉพาะความหลากหลายทางเพศสภาวะของคนเรา และยิ่งในภูมิภาคเอเชียอาคเนย์ ซึ่งเป็นอีกหนึ่งภูมิภาคที่มีคนหลากหลายเชื้อชาติ เผ่าพันธุ์ รวมกันอยู่เป็นกลุ่มก้อน ก็ไม่ได้รับการยกเว้นในเรื่องของเพศสภาวะเช่นกัน เป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่ใช่เรื่องธรรมชาติ เพราะเรื่องเพศไม่ใช่เรื่องของการสืบพันธุ์เท่านั้น หากแต่เรื่องเพศเป็นความเกี่ยวข้องกับบริบททางสังคม คือการสื่อสารในสังคม เพราะเป็นเรื่องที่สามารถจะทำได้คนเดียว สองคน สามคน หรือทั้งสังคมก็ได้ เรื่องเพศจึงเป็นวัฒนธรรมทางสังคมรูปแบบหนึ่ง ขณะเดียวกัน วัฒนธรรมก็ถูกทำให้กลายเป็นเรื่องเพศได้ในเวลาเดียวกัน สำหรับเรื่องเพศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น แม้จะเป็นเรื่องที่ถูกปิดบังซ่อนเร้นและไม่ค่อยถูกพูดถึงมากนัก ก็ยังคงเป็นอีกหนึ่งบริบทสำคัญที่กลมกลืนอยู่ในวิถีชีวิต จริยธรรม ศีลธรรม วัฒนธรรม และความเชื่อทางศาสนาของคนภูมิภาคนี้อย่างแยกไม่ออกเลยทีเดียว
 สำหรับคนเอเชียอย่างเราแล้วเรื่องเพศหรือกิจกรรมทางเพศ ถือเป็นเรื่องน่าอับอายและเป็นเรื่องที่ไม่สมควรเผยแพร่ในสาธารณะชน เนื่องจากบริบททางสังคมของเราถูกปลูกฝังมาแต่ก่อนว่าเพศหรือเรื่องกิจกรรมทางเพศเป็นเรื่องที่คนในสังคมมองว่าเป็นเรื่องส่วนตัว แต่ในปัจจุบันเรื่องเหล่านี้กลายเป็นเรื่องที่คนในสังคมเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องผ่านความคิด ความเชื่อ ค่านิยมต่าง ๆ มากขึ้น ในมิติและรูปแบบต่างๆ ทำให้เรื่องเหล่านี้ถูกตีความหมายว่า“ปกติ” หรือ “ผิดปกติ” “เหมาะสม” หรือ “ไม่เหมาะสม” อย่างแตกต่างกันออกไปในและสังคม วัฒนธรรม ชนชั้น ชาติพันธุ์ และยังเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย กิจกรรมทางเพศจึงถูกจัดแบ่งออกเป็นกิจกรรมทางเพศกระแสหลักและกิจกรรมทางเพศกระแสรอง ขึ้นอยู่กับว่าโครงสร้างอำนาจในสังคมนั้นๆ เป็นอย่างไร โดยกิจกรรมทางเพศกระแสหลักจะถือเป็นมาตรฐานของสังคมที่ผู้คนต้องปฏิบัติตาม แต่สำหรับสังคมไทยปัจจุบันซึ่งมีรูปแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบเพศชายเหนือกว่าเพศหญิง ส่งผลให้มาตรฐานเรื่องเพศวิถีของไทย มีลักษณะมาตรฐานซ้อน คือ เพศหนึ่งมีความชอบธรรมที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางเพศ แต่ถ้าอีกเพศหนึ่งกระทำในสิ่งเดียวกันนี้ กลับกลายเป็นเรื่องผิด แม้ว่าสังคมเอเชียจะมีคัมภีร์กามสูตรออกมาเผยแพร่เป็นเวลายาวนานหลายร้อยปีแล้วก็ตาม....“เหมาะสม”หรือ “ไม่เหมาะสม”ตัดสินกันที่ตรงไหน “เพศวิถี”ในอำนาจของเพศ ในส่วนของ “เพศวิถี” ในมิติและรูปแบบต่างๆ ถูกให้ความหมายว่า “ปกติ” หรือ “ผิดปกติ” “เหมาะสม” หรือ “ไม่เหมาะสม” อย่างแตกต่างกันไปในและสังคม วัฒนธรรม ชนชั้น ชาติพันธุ์ และยังเปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เช่น เพศสัมพันธ์ของคนรักเพศเดียวกันถือเป็นสิ่งผิดปกติและไม่ใช่เพศวิถีที่สังคมยอมรับในบางยุคสมัย เป็นต้น  เพศวิถีจึงถูกจัดแบ่งออกเป็นเพศวิถีกระแสหลักและเพศวิถีกระแสรอง ขึ้นอยู่กับว่าโครงสร้างอำนาจในสังคมนั้นๆ เป็นอย่างไร โดยเพศวิถีกระแสหลักจะถือเป็นมาตรฐานของสังคมที่ผู้คนต้องปฏิบัติตาม แต่สำหรับสังคมไทยปัจจุบันซึ่งมีรูปแบบความสัมพันธ์เชิงอำนาจแบบเพศชายเหนือกว่าเพศหญิง ส่งผลให้มาตรฐานเรื่องเพศวิถีของไทย มีลักษณะมาตรฐานซ้อน คือ เพศหนึ่งมีความชอบธรรมที่จะกระทำสิ่งหนึ่งสิ่งใดในทางเพศ แต่ถ้าอีกเพศหนึ่งกระทำในสิ่งเดียวกันนี้ กลับกลายเป็นเรื่องผิด เช่น ผู้ชายสามารถเสพสื่อโป๊ได้อย่างสะดวกสบายใจ ไร้สายตาตำหนิ แต่ผู้หญิงต้องหลบซ่อน และมีสื่อโป๊ให้เลือกเสพได้น้อย เพราะสื่อโป๊ถูกผลิตจากมุมมองของผู้ชาย เพื่อความสุขทางเพศของผู้ชายเป็นหลัก เหมือนกันกับการที่ผู้หญิงขายบริการทางเพศที่สังคมมองว่าผู้หญิงผิด ไม่ดีด้วยสายตาและการมีอำนาจบางอย่างคอยครอบงำแต่ถ้าผู้ชายออกไปหาความสุข หรือมีเมียน้อยกับไม่เคยโทษผู้ชายอีก หากแต่สังคมมองว่ามันเกิดจากผู้หญิงที่ไม่เอาใจใส่ ปรนนิบัติไม่ดีหรืออะไรอีกมากมายที่สังคมจะบอกว่าผู้หญิงผิด