"The Enigma of Kaspar Hauser"
 

วิเคราะห์จากบทความ : Ludwig Wittgenstein , Robert Gangn

“ เป็นเชื้อพระวงศ์ เป็นคนบ้า เป็นลูกซาตาน เป็นอัจฉริยะ
เป็นเด็กทารก เป็นพระเจ้า เป็นคนไร้รากไร้ประวัต หรือเป็น
เพียงแค่ลูกชาวบ้านที่บังเอิญ เกิดจากความสนุกของการ
เสพกามอารมณ์ของพลทหารม้ากองพันที่ 4”

                จากภาพยนตร์เรื่อง The Enigma of Kaspar Hauser นั้น มีตัวเอกที่เป็นตัวดำเนินเรื่องที่ชื่อว่า Kaspar Hauser เด็กหนุ่มผู้มีชาติกำเนิดเป็นปริศนาและตายลงอย่างลึกลับ เรื่องราวของเขาเป็นปริศนาพิศวงที่เป็นตำนานเล่าขาน เขาเป็นใครกันแน่ เป็นเชื้อพระวงศ์ เป็นคนบ้า เป็นลูกซาตาน เป็นอัจฉริยะ เป็นเด็กทารก เป็นพระเจ้า เป็นคนไร้รากไร้ประวัติ หรือเป็นเพียงแค่ลูกชาวบ้านที่บังเอิญ เกิดจากความสนุกของการเสพ กามอารมณ์ของพลทหารม้ากองพันที่ 4 จากแนวLocationและเสื้อผ้าเครื่องแต่งกายของเหล่านักแสดงในภาพยนต์นี้จะเห็นได้ว่าเหล่าตัวละครและเรื่องราวของ Kaspar Hauser ทั้งหมดน่าจะเกิดขึ้นในยุคของสมัยใหม่ เป็นยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม เศรษฐกิจ การค้าเกิดการตื่นตัวขึ้น มีการสำรวจดินแดนใหม่ๆ และเป็นยุคของการล่าอนานิคม ทำให้ชนชั้นกลางถูกกำเนิดขึ้น คือ กลุ่มของพ่อค้าและปัญญาชน  ในช่วงทศวรรษนี้ความเสื่องของระบบฟิวดัล พระและขุนนางถูกลดบทบาทและอำนาจลง ที่คาร์ล เอ็นริก มาร์กซ (Karl Heinrick Marx) อธิบายสังคมในรูปแบบของการต่อสู้ระหว่างชนชั้นเพื่อการดำรงอยู่ของชนชั้น (the existence of classes) ประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติจะเป็นเช่นนั้น จนในที่สุดเข้าสู่ยุคแห่งการไร้ชนชั้น   ระบบชนชั้นสลายตัวไป (the abolition of all classes) ไปสู่สังคมที่ไม่มีชนชั้น (a classless society) 

                ภาพยนตร์เรื่องนี้เปิดเรื่องโดยภาพคล้ายกับกำลังพาเราล่องเรือไปตามแม่น้ำ เห็นโลกในมุมมองเดียวกับผู้มาเยือนจากถิ่นอื่นภาพที่เห็นเรื่องราวที่ได้สัมผัสคลายกับว่าเป็นเรื่องราวใหม่ที่แปลกประหลาดแปลกตาไม่เคยสัมผัส ทั้งๆที่ภาพที่เห็นและเรื่องราวเหล่านี้ทั้งหมดล้วนเป็นเพียงแค่กิจกรรมประจำวันธรรมดาที่เราได้เคยเห็นเคยสัมผัสมาแล้วทั้งสิ้น และภาพที่เป็นทุ่งหญ้ากว้างใหญ่และสุดแสนจะเวิ้งว้าง ที่ถูกสายลมพัดมาจากทุกทิศทางและตีโบกเหล่าต้นหญ้าให้โน้มเอียงไปตามกระแสลม ที่พยายามสื่อถึงความอ้างว้างความสับสน การโน้มเอียงตามทิศทางของวัฏจักรของสังคมในยุคนั้น ก่อนที่ภาพยนต์จะขึ้นคำบรรยายถึงความขัดแย้ง และปิดฉากลงโดยการโชว์สิ่งลี้ลับแห่งศตวรรษ ที่มีหมี คนอินเดียแดงพ่นไฟ พระราชาที่ตัวเล็กลงเรื่อยๆ Kaspar Hauser, Mozartวัยเด็กที่เอาแต่จ้องมองหลุมดำอันมืดมิด อินเดียแดงที่เอาแต่เป่าขลุ่ย ซึ่งฉากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นนี้ทำให้เราสามารถบ่งบอกถึงยุคสมัยและสังคมในภาพยนต์เรื่อง  The Enigma of Kaspar Hauserนี้ได้

                ตัวเอกในการดำเนินเรื่องอย่าง Kaspar Hauser ผู้ซึ่งไม่ได้รับการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ ไม่รู้ถึงการใช้คำ หรือประโยคในการพูด เพื่อการสื่อสารอย่างเป็นระบบ ผู้ที่เอาแต่กินขนมปังกับน้ำเปล่า วันๆนอนมากกว่ายืน และนั่งมากกว่าเดิน ไม่มีอารมณ์สอบสนอง ไม่มีความเชื่อ และไม่ศรัทธาใคร Kasparเรียนรู้ด้วยหัวใจที่ตนเองถนัด แต่ไม่เข้าใจการเรียนรู้ในเชิงตรรกระ สัญลักษณ์ ตามวัฒนธรรมในสังคม เช่นฉากต้นๆที่มีชายชุดดำมาสอนให้ Kaspar เขียนคำว่า Kaspar Hauser และถ้Kasparสามารถเขียนได้ก็จะได้เล่นม้าเป็นการตอบแทนแต่แล้ว Kaspar กลับไม่ยอมสนใจที่จะเขียนต่อแล้วหันกลับมาสนใจที่จะเล่นม้าอย่างเดียว ชายชุดดำจึงกลับเข้ามาอีกครั้งพร้อมท่อนไม้แล้วพาดเข้าไปตรงตัวของ Kaspar ทำให้Kaspar หยุดพฤติกรรมการเล่นม้าและพฤติกรรมทุกสิ่งอย่าง ซึ่งจริงๆแล้ว Kaspar ไม่ได้รู้ความหมายของคำและการกระทำเหล่านั้นเลย และฉากหนึ่งที่บ้านที่มี พ่อ แม่ ลูก สอนให้ Kaspar กินอย่างไรและใช้ช้อนอย่างไร และเมื่อKasparได้กินซุปในเหยือกเล็กๆ อย่างเอร็ดอร่อยและพยายามที่จะกินอีกทั้งๆทีซุปนั้นได้หมดไปแล้ว ชายผู้เป็นพ่อและลูกชายจึงพยายามสอน Kaspar ถึงความว่างเปล่า ว่าของในเหยือกนี้หมดไปแล้ว จากฉากที่กล่าวมาข้างต้นนี้ถ้ามองตามหลักการของ Ludwig Wittgenstein แล้วจะเห็นได้ว่า Kasparมีการรับรู้แบบเชิงเดี่ยว หรือ การเรียนรู้แบบคิด ทำให้ไม่เข้าใจการสื่อสารแบบอ้อม เช่นการเรียง A-Z ก็จะเรียง A B C D – Z แต่จะไม่สามรถเข้าใจการเรียนรู้ หรือการคิดแบบย้อนกลับไปมาหรือตัวอักษรที่เรียงกันแล้วเกิดเป็นความหมาย ตามหลักของ Wittgenstein ในยุคนั้น คำแต่ละคำจะมีความหมายเนื่องจากการนำมาใช้ตามสถานการณ์นั้นๆ ขึ้อยู่กับความคล้ายคลึงเชิงครอบครัว(Family resemblance) เช่นเดียวกับนิยามของสิ่งต่างๆที่เราไม่สามารถกำหนดได้อย่างชัดเจน และมโนทัศน์ต่างๆในชีวิตประจำวันของคนเราส่วนมากก็จะมีลักษณะเช่นนี้ เช่น การพูดถึง”เกมส์” ของคนๆหนึ่ง เราไม่สามรถแน่ใจได้ว่าเกมส์ของคนๆนั้นจะเป็นเกมส์ในแบบที่คนอื่นคิดหรือไม่ กล่าวคือ อาจมีความหมายถึง เกมส์กด ไพ่ บาสเกตบอล หมากรุก หรือรูบิด ก็ได้ แต่เทอมดังกล่าวก็มีความคล้ายคลึงกันเชิงครอบครัว ที่ทำให้คนทั้งสองสามารถสื่อสารกันอย่างเข้าใจว่าอีกฝ่ายหมายถึงอะไรได้ การใช้ภาษาก็เหมือนกับการเล่นเกมส์ เกมส์หนึ่ง ซึ่งไม่มีแก่นที่แท้จริง เพราะไม่สามารถระบุถึงแก่นความหมายที่แท้จริงได้ จะเห็นได้ว่าในส่วนตรงนี้Kaspar ไม่สามารถเรียนรู้เกมส์ภาษาเหล่านี้ได้เพราะไม่มีความเข้าใจร่วมกันกับคนอื่นในสังคมเพราะ Kaspar มี วิถีชีวิตที่แตกต่างไปจากคนอื่น คือ มีการเรียนรู้ การรับรู้ และสิ่งแวดล้อม และแนวคิดที่อยู่รอบตัวแตกต่างออกไป ทำให้เกิดคำถามสำคัญของเหล่านักปรัชญาภาษาคำถามหนึ่งคือ ความหมายคืออะไร?  แต่ถ้าหากถ้าเรามองกลับเข้าไปอีกมุมมองหนึ่ง เรากลับได้เรียนรู้ถึงมุมมองใหม่ที่แตกต่างไปในเรื่องของทฤษฎีการเรียนรู้ของ Robert Gangn  ในฉากที่ได้กล่าวมาข้างต้นนั้นถ้าเมามองในมุมมองของการเรียนรู้ Kaspar ได้มีการเรียนรู้แบบสัญญาณ(Signal Learning) ซึ่งเป็นการเรียนรู้แบบวางเงื่อนไขโดยมีการเสริมแรง(Reinforcement)เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดการตอบสนอง หรือให้เกิดพฤติกรรมการเรียนรู้ตามที่ต้องการ   ดั่งเช่น เมื่อใดที่Kasparสามารถเขียนประโยคดังที่ชายชุดดำบอกให้เขียนได้ Kaspar ก็จะได้เล่นม้าเป็นการตอบแทน แต่ Kaspar กลับไม่ยอมเขียนตามคำบอกของชายชุดดำ Kaspar จึงถูกชายชุดดำนำท่อนไม้มาตีที่ลำตัว จากผลการกระทำดังกล่าวจากชายชุดดำ จึงทำให้พฤติกรรมของ Kaspar หยุดไปชั่วขณะหนึ่ง เนื่องจากความสับสนในความคิด ว่าสิ่งที่ถูกกระทำน้ำเกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร เพราะอะไรคือสาเหตุของการถูกกระทำเนื่องจาก Kasparไม่ได้รับรู้และเรียนรู้พฤติกรรมการเรียนรู้ตามแบบฉบับมนุษย์คนหนึ่งพึงกระทำและเนื่องด้วยช่วงชีวิตของKasparในขณะนั้นมีเพียงแต่น้ำ ขนมปัง และม้า การที่ Kasparใกล้ชิดกับสิ่งเหล่านี้ จึงทำให้สิ่งเหล่านี้กลายเป็นสิ่งเร้าทำให้เกิดการกระทำซ้ำจนผู้เรียนไม่สามารถควบคุมพฤติกรรมตนเองได้          และในฉากที่ชายผู้เป็นพ่อและลูกชายจึงพยายามสอน Kaspar ถึงความว่างเปล่า ก็เป็นการเรียนรู้แบบการจำแนก(Discrimination Learning) โดยสองพ่อลูกพยายามชี้ให้ Kaspar เห็นถึงความว่างป่าว ทำให้Kasparมองเห็นความแตกต่างและสามารถเลือกตอบสนองได้ Kasparได้เรียนรู้ถึงการเรียนรู้แบบภาษาสัมพันธ์(Verbol Association Learning)มีลักษณะเช่นเดียวกับการเรียนรู้แบบลูกโซ่ หากแต่ใช้ภาษา หรือสัญลักษณ์แทน เช่นการที่ชายผู้เป็นพ่อและลูกพยายามสอน Kaspar เรียนรู้ถึงมารยาทการรับประทานอาหารบนโต๊ะ

                บทสรุปจากภาพยนตร์เรื่องนี้คือ Kaspar ไม่ได้เรียนรู้จากการใช้ภาษาแต่เป็นการเรียนรู้แบบสัญญาณ เป็นการคิดในแบบสังคมที่ตัวเองสร้างขึ้น แบบที่ไม่มีการเรียนรู้จากภาษาของคนในสังคมนั้นจึงทำให้ไม่เข้าใจถึงการสื่อสารหรือภาษาที่มีความซับซ้อนจะใช้การจดจำจากประสบการณ์ตรง แสดงออกมาทางกายผ่าน(ID) โดยไม่ได้กลั่นกลองความรู้สึกนึกคิดก่อน เป็นการดำเนินชีวิตโดยความรู้สึก หรือมีภาษาส่วนตัวของตัวเองเท่านั้น ดังนั้น Kaspar จึงต้องอาศัยการรับรู้ผ่านบริบทหนึ่งๆ ที่สามารถทำให้เป็นประสบการณ์เบื้องหลังส่วนตัวของแต่ละบุคคล เรียนรู้ผ่านสิ่งที่ได้รับการยอมรับจากคนในสังคมร่วมกันเพื่อกลับมาดำเนินชีวิตร่วมกันกับคนในสังคมของ Kaspar เอง