"Who should verify information..?"
 

เขียนโดย Kedsaraporn Khumdee

Who should verify information?... “ใคร?คือผู้ตรวจสอบสาระสนเทศ”ก่อนที่เราจะไปค้นหาว่าใครคือผู้ตรวจสอบสาระสนเทศ เรามาทำความเข้าใจเสียก่อนว่าสาระสนเทศหมายถึงอะไร?  สาระสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี การจัดเก็บข้อมูลและสารสนเทศจะต้องมีการควบคุมดูแลเป็นอย่างดี เช่น อาจจะมีการกำหนดให้ผู้ใดบ้างเป็นผู้มีสิทธิ์ใช้ข้อมูลได้ ข้อมูลที่เป็นความลับจะต้องมีระบบขั้นตอนการควบคุม กำหนดสิทธิ์ในการแก้ไขหรือการกระทำกับข้อมูลว่าจะกระทำได้โดยใครบ้าง นอกจากนี้ข้อมูลที่เก็บไว้แล้วต้องไม่เกิดการสูญหายหรือถูกทำลายโดยไม่ได้ตั้งใจ การจัดเก็บข้อมูลที่ดี จะต้องมีการกำหนดรูปแบบของข้อมูลให้มีลักษณะง่ายต่อการจัดเก็บ และมีรูปแบบเดียวกัน ข้อมูลแต่ละชุดควรมีความหมายและมีความเป็นอิสระในตัวเอง นอกจากนี้ไม่ควรมีการเก็บข้อมูลซ้ำซ้อนเพราะจะเป็นการสิ้นเปลืองเนื้อที่เก็บข้อมูล (2554,วิกิพีเดีย/สาราณุกรมออนไลน์) นั่นก็หมายความว่า ก่อนที่ข้อมูลจะเป็นสาระสนเทศที่ดีได้ต้องมีการตรวจสอบและวิเคราะห์ประมวลผลก่อนแล้วถึงจะออกมาเป็นสาระสนเทศที่ดี และสมบูรณ์แบบได้  นั่นก็ทำให้เห็นว่ากระบวนการตรวจสอบจะเกิดขึ้นทั้งสองฝ่ายนั่นก็คือ ฝ่ายผู้ส่งสารและฝ่ายผู้รับสาร การตรวจสอบสามรถเกิดขึ้นได้ 3 รูปแบบ ดังนี้ 1 ผู้ส่งเป็นผู้ตรวจสอบ เพื่อให้ข้อมูลที่จะส่งหรือกระจายออกไปมีความถูกต้อง น่าเชื่อถือโดยเฉพาะกรณีที่เป็นการสื่อสารสู่คนกลุ่มกลุ่มใหญ่ สื่อสารสู่สาธารณะ หรือการสื่อสารมวลชน การตรวจสอบข้อมูลเป็นสิ่งที่จำเป็น เนื่องจากมักเป็นการสื่อสารทางเดียวข้อมูลที่ผิดพลาดอาจสร้างความเสียหายที่ยิ่งใหญ่ได้ 2 ผู้รับเป็นผู้ตรวจสอบ เพื่อเป็นการตรวจสอบความแม่นยำของข้อมูล ก่อนที่จะผ่านการแปรจาก สาระสนเทศ กลายเป็นองค์ความรู้ หรือก่อนที่จะกระจายข้อมูลต่อไป ผู้รับสารจำเป็นต้องตรวจสอบข้อมูลทุกครั้ง เพราะแม้กระทั่งผู้ส่งสารที่เชื่อถือได้ยังสามารถ นำเสนอข้อมูลที่ผิดพลาด ดังนั้นเมื่อรับข้อมูลทุกครั้งควรตรวจสอบ และ 3 ทั้งผู้รับและผู้ส่งเป็นผู้ตรวจสอบ วิธีนี้จะเป็นวิธีการตรวจสอบที่แม่นยำที่สุดเกิดความผิดพลาดน้อยที่สุด มีความเสี่ยงน้อยที่สุด และมีคุณภาพน้อยที่สุด เพราะเป็นการตรวจสอบจากทั้งผู้รับสารและผู้ส่งสาร ทำให้สารสนเทศนั้นมีความน่าเชื่อถือกว่าการตรวจสอบ2วิธีแรก และการตรวจสอบข้อมูลก่อนการส่งออกสู่สาธารณะเป็นสิ่งที่พึ่งกระทำ เพื่อเป็นการรักษาภาพลักษณ์และความน่าเชื่อถือขององค์กรที่ต้องนำเสนอความจริงแก่บุคคลทั่วไป ให้รับทราบร่วมกัน จุดประสงค์หลักของผู้ส่งสารคือ การสื่อข้อความไปยังผู้รับสารให้ได้รับสิ่งที่ตนต้องการถ่ายทอด ดังนั้นนอกจากในส่วนของผู้สร้างสรรค์ข้อมูลแล้ว ผู้รับข้อมูล จึงเป็นอีกฝ่ายหนึ่งที่ต้องพิจารณาความถูกต้องของเนื้อหาเช่นกัน ผู้อ่านควรมีวิจารณญาณส่วนบุคคลที่ต้องไตร่ตรองถึงข้อมูลด้วยตนเองว่า จะเชื่อในเนื้อหาที่กล่าวมาหรือไม่ เนื่องจากข้อมูลในปัจจุบันล้วนแล้วแต่สามารถบิดเบือนความจริงได้ตลอดเวลา ดังนั้นเราเองควรพิจารณาด้วยความคิดที่รอบครอบก่อนตัดสินใจเชื่อข้อมูลชุดนั้นๆ ดังเช่นข้อมูลขยะมากมายที่ส่งผ่านมาทางอินเตอร์เน็ตที่ผู้ใช้จะต้องกรองความถูกต้องเอง และหลายๆกรณีที่มีการส่งข่าวในแง่ลบกับดารา นักแสดงต่างๆ หรือแม้กระทั่งนักการเมือง เพื่อมุ่งหวังให้เกิดความเสื่อมเสีย ทำลายภาพลักษณ์ของบุคคลผู้นั้นโดยสร้างเรื่องราวขึ้นมาเอง และสาระสนเทศที่ดีต้องมีที่มาที่ไปไม่ใช่ Paradox ถึงแม้สาระสนเทศจะเหมือนกับน้ำก็ตาม น้ำ ที่สามารถเปลี่ยนเป็นน้ำแข็งเพื่อให้จับต้องได้หรือจะเปลี่ยนเป็นไอน้ำเพื่อที่จะสามารถสลายหายไปได้ก็ตาม