Coffee
1.
มีงานวิจัยหลายงานที่ระบุว่าเมล็ดกาแฟมีสารคาเฟอีนที่มีฤทธิ์กระตุ้นหัวใจและกระตุ้นประสาทส่วนกลาง
การดื่มกาแฟจึงช่วยกระตุ้นระบบประสาท ทำให้ตาแข็ง นอนไม่หลับ ทำให้ร่างกายสดชื่น
ขจัดความเซื่องซึมและอ่อนล้าได้ โดยมีการยืนยันจากผลการทดลองที่ทำการทดลองกับนักกีฬากลุ่มหนึ่งที่ได้ดื่มกาแฟในระหว่างการฝึกซ้อม
และได้พบว่านักกีฬากลุ่มดังกล่าวสามารถฝึกซ้อมกีฬาได้นานขึ้นหรืออึดมากขึ้น
โดยความคึกคักที่เกิดขึ้นจะมีระยะเวลาประมาณ 1 ชั่วโมงเท่านั้น
2.
ปริมาณคาเฟอีนในกาแฟที่เหมาะสมสามารถช่วยลดอาการหงุดหงิด
อารมณ์ซึมเศร้า รวมถึงความเครียดได้ การดื่มกาแฟจึงทำให้ผู้ดื่มรู้สึกพึงพอใจและมีความสุข โดยมีรายงานผลวิจัยที่ระบุว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 2-3 แก้ว จะสามารถช่วดลดความเครียดได้ประมาณ 15%
แต่ถ้าหากดื่มถึงวันละ 4 แก้ว
ก็จะช่วยลดความเครียดได้ถึง 20%
3.
ช่วยลดความเสี่ยงของโรคอัลไซเมอร์ โดยมีงานวิจัยของมหาวิทยาลัยเซาท์ฟรอริด้า ที่เปิดเผยว่าผู้ที่มีอายุล่วงเข้าสู่วัยกลางคน
ควรดื่มกาแฟวันละ 4-5 แก้ว เพื่อช่วยเพิ่มระดับฮอร์โมน GCSF
เนื่องจากฮอร์โมนชนิดนี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอัลไซเมอร์ได้ ซึ่งสอดคล้องกับการศึกษากับคนวัยกลางคนในประเทศฟินแลนด์จำนวน 1,400
คน ที่พบว่าคนที่ดื่มกาแฟวันละ 5 ถ้วยต่อวัน
สามารถลดอัตราเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้ถึง 65%
4.
ช่วยแก้อาการปวดศีรษะ คาเฟอีนในกาแฟมีฤทธิ์ขยายหลอดเลือด
จึงช่วยระงับอาการปวดได้เช่นเดียวกับยาแก้ปวด
อีกทั้งกาแฟยังช่วยละลายไขมันในเส้นเลือด บรรเทาอาการปวดศีรษะเนื่องจากการเมาสุรา
อาการปวดศีรษะเนื่องจากเส้นประสาท รวมถึงอาการปวดศีรษะข้างเดียวหรือไมเกรน
5.
จากการศึกษาของภาคเกษตรและเคมีอาหารของสหรัฐอเมริกา
ที่ได้ทำการศึกษาจนพบว่า ผู้ที่ดื่มกาแฟเป็นประจำจะมีโอกาสรอดพ้นจากโรคเบาหวานชนิดที่
2 ได้ถึง 50% เนื่องจากกาแฟมีคาเฟอีนที่มีคุณสมบัติในการยับยั้ง
hIAPP และโพลีเปปไทด์
ที่เป็นตัวการก่อให้เกิดโปรตีนผิดปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเบาหวานชนิดที่ 2
6.
เมล็ดกาแฟ
มีสรรพคุณช่วยลดน้ำระดับตาลในเลือดได้ โดยการใช้เมล็ดที่คั่วแล้ว นำมาชงกับร้อน
เป็นเครื่องดื่มยามว่าง
7.
กาแฟมีสรรพคุณช่วยบำรุงหัวใจ
และช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจ จากการศึกษาที่ติดตามดูผู้หญิงจำนวน
27,000 คน เป็นเวลา 15 ปี
พบว่าการดื่มกาแฟประมาณวันละ 1-3 ถ้วย
จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจให้น้อยลงได้ถึง 26% แต่การดื่มกาแฟในปริมาณมากกว่านี้ต่อวันจะไม่ได้ผลในการลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจ
ส่วนอีกการศึกษาหนึ่งที่ทำการศึกษาในกลุ่มผู้หญิงที่ดื่มกาแฟไม่เกินวันละ 5
ถ้วย
พบว่ากาแฟไม่มีส่วนทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคหัวใจมากขึ้น แม้ในรายที่มีปัญหาเส้นเลือดหดตัวหรือหัวใจเต้นไม่สม่ำเสมอ
ส่วนผู้ที่ดื่มกาแฟวันละ 6 ถ้วยขึ้นไปทุกวันก็ไม่มีอัตราการเต้นของหัวใจที่สูงเกินกว่าปกติ การดื่มกาแฟจะทำให้หัวใจเต้นเร็ว ความดันโลหิตเพิ่มขึ้น เพราะกาแฟมีสาร theobromine
(เมล็ด)
8.
กาแฟมีนิโคติน
แต่ไม่ใช่ชนิดเดียวกันกับที่พบได้ในบุหรี่
แต่เป็นวิตามินบีรวมชนิดหนึ่งที่ร่างกายต้องการ ซึ่งสามารถช่วยลดคอเลสเตอรอลในเส้นเลือดได้
การดื่มกาแฟจึงช่วยป้องกันโรคหัวใจและหลอดเลือดแข็งตัว
9.
การดื่มกาแฟหลังอาหาร
สามารถช่วยละลายไขมัน ทำให้ไขมันเกิดการแตกตัว และให้พลังงานทดแทนได้ อีกทั้งกาแฟยังมีประโยชน์ต่อกระเพาะโดยตรง
โดยจะช่วยทำให้น้ำย่อยที่กระเพาะและตับอ่อนมีเพิ่มขึ้น จึงทำให้ไขมันถูกเผาผลาญ
การดื่มกาแฟจึงมีส่วนในการช่วยลดความอ้วนได้
10.
ช่วยเพิ่มไขมันดี (HDL) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย จากผลการวิจัยพบว่าผู้ที่ดื่มกาแฟบ่อยๆ จะมีไขมันชนิดดีเพิ่มขึ้น
ซึ่งไขมันชนิดนี้จะเป็นตัวช่วยขับไล่คอเลสเตอรอล
และช่วยป้องกันหลอดเลือดแข็งตัว
11.
การดื่มกาแฟสามารถช่วยป้องกันการเกิดโรคหอบ
ช่วยบรรเทาอาการหอบหืด แก้หอบหอบหืดได้ เพราะกาแฟมีสารคาเฟอีนที่ช่วยระงับอาการตึงเครียดของประสาทสัมผัสสำรอง
จึงช่วยลดการเกิดโรคหอบได้
12.
มีงานวิจัยที่ได้พิสูจน์แล้วว่า
กาแฟมีประโยชน์ในการช่วยป้องกันโรคไวรัสตับอักเสบบี
13.
ช่วยลดการเกิดโรคตับจากสุรา
จากสำรวจพบว่ากาแฟสามารถช่วยลดผลร้ายที่มีต่อตับได้
แต่ในส่วนนี้ยังต้องมีการวิจัยต่อไปว่าสารชนิดใดที่เป็นสารออกฤทธิ์
และมีผลต่อสาเหตุอื่นที่ทำให้เกิดโรคตับแข็งหรือไม่นอกจากแอลกอฮอล์
ส่วนอีกจากการศึกษาที่ทำการศึกษากับผู้ดื่มกาแฟจำนวน 125,000 คน โดยพบว่าการดื่มกาแฟเพียงวันละ 1 แก้ว
ก็สามารถทำให้ความเสี่ยงของการเป็นโรคตับแข็งลดลง 20%
และถ้าดื่มวันละ 4 แก้ว
ก็จะสามารถช่วยลดอัตราเสี่ยงได้สูงถึง 80%
14.
กาแฟมีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
โดยมีข้อมูลที่ระบุว่าการดื่มกาแฟประมาณ 5 ถ้วยครึ่ง
(ประมาณ 550 มิลลิกรัม)
จะไม่ออกฤทธิ์ในการขับปัสสาวะแต่อย่างใด แต่อย่างไรก็ตาม
คาเฟอีนยังมีฤทธิ์เป็นยาขับปัสสาวะได้หากดื่มเกินครั้งละ 575
มิลลิกรัม หรือประมาณ 6 ถ้วย
ดังนั้นในขณะออกกำลังกายหรือหลังออกกำลังกาย จึงไม่ควรดื่มกาแฟในปริมาณมาก
เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำได้
15.
การดื่มกาแฟวันละ 2 แก้ว
อาจช่วยลดอาการปวดกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายได้ถึง 58%
จึงทำให้ยาแก้ปวดหลายประเภทนั้นมีส่วนผสมของคาเฟอีนอยู่ด้วย 65 มิลลิกรัม (เช่น aspirin, ibuprofen เป็นต้น)
นอกจากนี้คาเฟอีนยังสามารถช่วยบรรเทาอาการปวดได้ถึง 40%