ประเพณีการแข่งขันเรือมังกร เป็นส่วนหนึ่งของเทศกาลตวนอู่* ซึ่งตรงกับวันขึ้นห้าค่ำ เดือนห้า ตามปฏิทินจันทรคติซึ่งปีนี้

ประเพณีการแข่งเรือมังกรมีประวัติศาสตร์เก่าแก่ถึงสองพันปี และกลายเป็นแข่งขันนานาชาติประจำปีในฮ่องกงเมื่อปี 2519 เรือทรงยาวมังกรที่เข้าร่วมการแข่งขันจะตกแต่งเรือเป็นรูปหัว และหางมังกรแบบจีน การแข่งขันเรือมังกรในบางพื้นที่ในประเทศจีน เรือที่เข้าร่วมการแข่งขันเป็นเรือยาวที่ไม่มีการตกแต่งใดๆ

ในเดือนธันวาคม ปี 2550 รัฐบาลจีนได้กำหนดเทสกาลตวนอู่ ชิงหมิง (เชงเม็ง) และเทศกาลไหว้พระจันทร์ เป็นวันหยุดราชการ จากเดิมที่ประเทศจีนมีวันหยุด เพียง 3 เทศกาลเท่านั้น คือ วันตรุษจีน วันแรงงาน และวันชาติ

* ทั้งนี้ ตามตำนานของเทศกาลตวนอู่ เป็นประเพณีรำลึกชีวิตของชีว์หยวน (屈原) นักกวีแห่งรัฐฉู่ในช่วงปลายสมัยจั้นกั๋ว (475-221 ปีก่อนคริสตศักราช)เป็นขุนนางที่มีความรักและห่วงใยและต้องการจะปกป้องบ้านเมือง แต่ก็ถูกกลุ่มคนชั่วที่คอยยุยงเจ้าผู้ปกครอง กระทั่งสุดท้ายทหารจากรัฐฉินก็สามารถยึดครองรัฐฉู่ เมื่อกวีและบัณฑิตผู้รักชาติผู้นี้ ต้องประสบกับเหตุการณ์สิ้นชาติ ในวันที่ 5 เดือน 5 เมื่อ 278 ปีก่อนคริสตศักราช ด้วยความเจ็บปวดและเสียใจ จึงได้ตัดสินใจกอดก้อนหินใหญ่แล้วกระโดดน้ำฆ่าตัวตายที่แม่น้ำมี่หลัวเจียง

ชาวบ้านต่างพากันออกค้นหาศพของชีว์หยวน ทว่าเมื่อหาไม่พบก็เกรงว่ากุ้ง หอย ปู ปลาในน้ำจะพากันกัดแทะกินร่างของเขา จึงพากันนำเอาข้าวเหนียวมาบรรจุในกระบอกไผ่แล้วโยนลงไปในแม่น้ำ กระทั่งภายหลัง เพื่อแสดงความเคารพและรำลึกถึงชีว์หยวน จนกลายมาเป็นประเพณีการไหว้และกินบ๊ะจ่างในปัจจุบัน

ชีว์หยวนเป็นวีรบุรุษท่านหนึ่ง ที่ชาวจีนชื่นชมจนกำหนดเทศกาล เพื่อระลึกคุณงามความดี และเพื่อเทิดทูนให้เป็นแบบอย่างแก่คนรุ่นหลัง เช่นเดียวกันที่ชาวจีนมักสร้างศาลเจ้าเพื่อกราบไหว้บูชาวีรชน ไม่ว่าจะเป็นเทพเจ้ากวนอูในยุคสามก๊กที่ได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของเทพเจ้าแห่งความซื่อสัตย์ภักดี หรือขงเบ้ง (จูกัดเหลียง) ผู้ที่เปี่ยมด้วยปัญญาและความภักดี หรือแม้แต่ท่านงักฮุยผู้เป็นตำนานของปาท่องโก๋ก็ตาม เป็นต้น

สิ่งเหล่านี้นอกจากเป็นการสะท้อนความรู้สึกที่รักในความถูกต้องชอบธรรมของชาวจีนแล้ว ยังเป็นการสะท้อนบอกเป็นนัยให้ลูกหลานได้รู้ว่า "หากไม่รักชาติบ้านเมือง ไร้ความจงรักภักดี วันหนึ่งอาจจะไม่มีแผ่นดินให้อยู่...."
ประวัติเรือมักร

หน้าหลัก

ประเภทของกีฬาเรือพาย

ประวัติ เรือคยัค-แคนู

ประวัติเรือยาวประเพณี

ประวัติกีฬาเรือกรรเชียง (Rowing)

ประวัติเรือมักร

ประวัติกีฬา เรือใบ